Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of health education learning management using cognitive coaching approach and brainstorming on food literacy of vocational certificate program students

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขศึกษาและพลศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.980

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ด้านอาหารก่อน กับหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองและนักศึกษากลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ด้านอาหารหลังการทดลองระหว่างนักศึกษากลุ่มทดลองกับนักศึกษากลุ่มควบคุม ตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร ปีที่ 1 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเพื่อกำหนดห้องเรียนตัวอย่าง 2 ห้อง เข้าเป็นห้องกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที ในวันพฤหัสบดี รวม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความรู้ด้านอาหาร 3) แบบทดสอบความตระหนักด้านอาหาร และ 4) แบบสอบถามทักษะด้านอาหาร มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.73, 0.88, และ 0.89 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.81, 0.82, และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางอาหารด้านความรู้ ความตระหนัก และทักษะด้านอาหารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางอาหารด้านความรู้ ความตระหนัก และทักษะด้านอาหารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการชี้แนะทางปัญญาและการระดมสมองส่งผลต่อความฉลาดรู้ทางอาหารของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research aims to 1) compare the mean scores of food literacy before and after the experiment of experimental and control group students, and 2) compare the mean scores of food literacy after the experiment between experimental and control group students. The samples were first-year diploma students using a simple random sampling method to assign two sample classrooms to the experimental and control groups. The experimental group managed to learn health education by using the concept of cognitive coaching approach and brainstorming. The control group received regular health education. The duration of the research was 8 weeks, 1 lesson per week, 50 minutes per lesson on Thursday, and total 8 weeks. The research instruments were 1) a learning management plan, 2) a food knowledge test, 3) a food awareness test, and 4) a food skills questionnaire. The consistency index was 1.19, 0.73, 0.88, and 0.89, and the reliability was 0.81, 0.82, and 0.84, respectively. The data were analyzed by means, standard deviation, and t-test. The results showed that 1) the mean scores of food literacy on food knowledge, awareness, and skills of the experimental group after the experiment were significantly higher than before at the .05 level, and 2) the mean scores of food literacy on knowledge, awareness, and skills after the experiment of the experimental group was significantly higher than the control group at the .05 level. Conclusion: Health education learning management using a cognitive coaching approach and brainstorming concepts affect students' food literacy in high vocational programs.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.