Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of blended art activities to promote local identity appreciation for creative tourism: case study of nan’s textile handicraft

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

โสมฉาย บุญญานันต์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Art, Music and Dance Education (ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ศิลปศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.933

Abstract

จังหวัดน่านมีความโดดเด่นด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยเฉพาะศิลปะผ้าทอพื้นบ้านที่นอกจากจะงดงามด้วยสีสันและความวิจิตรบรรจงของการทอแล้ว ลวดลายต่าง ๆ ยังมีความหมายที่สะท้อนถึงความเชื่อ สอดคล้องกับความนิยมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งการอนุรักษ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านสามารถทำได้ด้วยการอนุรักษ์ให้คงลักษณะสภาพเดิม และการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับยุคสมัย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน และพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานเชิงท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน และการจัดกิจกรรมศิลปะ ระยะพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสาน ระยะศึกษาทดลองใช้กิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน 2) นักท่องเที่ยวไทยที่เคยมาเที่ยวจังหวัดน่าน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ 4) ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะพื้นบ้านในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกศิลปะพื้นบ้านกลุ่มตัวอย่าง และ 6) นักท่องเที่ยวไทย 3 กลุ่มช่วงวัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสังเกตการจัดกิจกรรม แบบสำรวจความคิดเห็น แบบประเมินการเห็นคุณค่า แบบสะท้อนคิด แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) อัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน พบว่า 1.1) ลวดลายของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มลายเรขาคณิต กลุ่มลายสิ่งของเครื่องใช้และลายเบ็ดเตล็ด กลุ่มลายธรรมชาติ 1.2) ความหมายของลวดลายศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มป้องกันปราบปราม กลุ่มเจริญเฟื่องฟู กลุ่มบูชาโชคลาภ กลุ่มงดงามคู่ครอง 1.3) สีของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน มีจำนวนทั้งหมด 12 สี ได้แก่ สีดำ สีขาว สีแดง สีม่วง สีบานเย็น สีน้ำเงิน สีน้ำตาล สีเหลือง สีส้ม สีเขียว สีเงิน และสีทอง 1.4) สีของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่านมีความสัมพันธ์กับความหมายตามความเชื่อมูเตลูในด้านการแสดงความรู้สึกตามทฤษฎีจิตวิทยาสีกับความรู้สึก แบ่งเป็นด้านการงานการเงิน ด้านการเรียน ด้านความรัก ด้านสุขภาพ ด้านแคล้วคลาดจากอันตราย ด้านดึงดูดพลังงานดี ๆ และด้านอื่น ๆ 1.5) คุณค่าของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน ได้แก่ คุณค่าด้านความรู้สึก คุณค่าทางด้านการใช้สอย คุณค่าด้านเนื้อหา คุณค่าด้านความงาม คุณค่าด้านการแสดงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น คุณค่าด้านรูปทรง คุณค่าด้านการสร้างสรรค์ 2) การจัดกิจกรรมศิลปะพื้นบ้านในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า 2.1) สามารถแบ่งเป็นกิจกรรมเรียนรู้จากวิทยากรแบบดั้งเดิม และกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเองแบบประยุกต์ 2.2) องค์ประกอบของกิจกรรม ประกอบด้วย จุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ เนื้อหา แนวทางการจัดกิจกรรม คุณค่าศิลปะพื้นบ้านที่ควรส่งเสริมให้เห็น สื่อการสอน การวัดและประเมินผล 3) รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกศิลปะพื้นบ้าน พบว่า 3.1) รูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกแบ่งเป็น แบบอนุรักษ์ แบบประยุกต์ แบบสมัยนิยม 3.2) แนวทางการพิจารณาองค์ประกอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านสำหรับนักท่องเที่ยว ประกอบด้วย ประเภทศิลปะพื้นบ้านประจำท้องถิ่น สิ่งที่ศิลปะพื้นบ้านสะท้อนถึง คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและความต้องการของผู้บริโภค ประเภทของการออกแบบ ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 4) ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นคือ “มายเตลู-มูเตลาย” เป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถทำได้ด้วยตนเองทั้งก่อนและขณะการท่องเที่ยว ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 ปกลายมงคล (ระดับง่าย) คือ กิจกรรมการตกแต่งปกสมุดจดบันทึก กิจกรรมที่ 2 เครื่องลายนำโชค (ระดับปานกลาง) คือ การประดิษฐ์พวงกุญแจนำโชค กิจกรรมที่ 3 แต้มสีเสริมดวง (ระดับยาก) คือ การระบายสีป้ายห้อยกระเป๋าเดินทาง ใช้สื่อแพลตฟอร์มดิจิทัลบูรณาการกับสื่อสิ่งพิมพ์ในสัดส่วน 70:30 5) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น พบว่า หลังทำกิจกรรมกลุ่มวัยเรียน (7 – 14 ปี) มีการเห็นคุณค่าระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 2.90) กลุ่มเยาวชน (15 – 24 ปี) มีการเห็นคุณค่าระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 3.03) กลุ่มวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ (25 ปีขึ้นไป) มีการเห็นคุณค่าระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 3.24) โดยรวมแล้วกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมีระดับความรู้เกี่ยวกับผ้าทอจังหวัดน่านหลังทำกิจกรรมค่าเฉลี่ย 7.13 คะแนน จาก 10 คะแนน และความสนใจในศิลปะผ้าทอจังหวัดน่านหลังทำกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย 0.77) มากกว่าก่อนทำกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย 0.17) มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.33) และผู้เชี่ยวชาญประเมินกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.95)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

One of the various cultural crafts produced locally in the Nan province is textile handicraft. These designs not only have exquisite weaving and gorgeous colors, but they also interpolate meanings that reflect the beliefs of the Nan people. This research aimed to investigate the identity of Nan's textile handicrafts and develop blended art activities to encourage creative travelers to appreciate Nan's textile handicraft identity. The research use mixed methods, divide into 3 phases: 1) The study of the identity of Nan's textile handicraft and art activities, 2) The development of blended art activities, and 3) The experiment of the developed activities. The population and samples were: 1) Nan's textile handicraft experts 2) Thai tourists who have visited Nan Province 3) Art activity management experts 4) Examples of folk art activities in creative tourism 5) Folk art souvenir sample group, and 6) Three age groups among Thai tourists. Research tools include expert interview forms, activity observation form, poll evaluation form, reflection form, satisfaction questionnaire, and activity assessment form. Data were gathered using interview forms and evaluation forms. Analyzed data using the arithmetic mean, percentage, and standard deviation. The findings of the study are as follows: 1) The identity of Nan's textile handicrafts found that 1.1) The art patterns of Nan's textile handicrafts were divided into geometric patterns, appliances and miscellaneous patterns, and natural patterns. 1.2) The significance of Nan's textile handicraft and Mutelu beliefs are divided into four categories: suppression, prosperity, worship of prosperity, and beauty and soul mate. 1.3) There are a total of 12 hues used in Nan's textile handicraft: white, black, red, purple, magenta, blue, brown, yellow, orange, green, silver, and gold. 1.4) The color of the cloth art of Nan Province is related to the meaning according to Mutelu's belief in expressing feelings according to Color Psychology theory. Divide into work and finance, study, love, health, safety from danger, the side that attracts good energy, and other aspects. 1.5) Nan's textile handicrafts have value in term of emotions, functionality, content, beauty, identity, shape, and creativity. 2) Guidelines for organizing blended art activities to promote local identity appreciation of creative travelers are 2.1) It can be divided into Traditional learning activities from experts and applied self-learning activities. 2.2) The components of the activities consist of aims or objectives, content, guidelines for organizing activities, the value of folk art that should be promote, teaching materials, and evaluation. 3) Souvenir product design based on folk art identities for travelers can be divide into 3.1) Souvenirs that use folk art identities as a source of design inspiration have three categories: Conservative Group, Applied Group, and Modern Group. 3.2) Guidelines for designing souvenir for tourists based on folk art identity, consisting of folk art, story, characteristics, design, and product positioning. 4) The blended art activity is “MY TE LU.” It is an activity that tourists can do by themselves. They can do both before and while traveling, consisting of (Easy level) “Auspicious Cover”, which is the activity for decorating the cover of a notebook. (Medium level) “Lucky Keychains” is the invention of lucky keychains. (Hard level) “Coloring Fortuned”, is a coloring luggage tags activity. These activities use digital media platforms to integrate with print media in a ratio of 70:30. 5) The results of the experimental activities showed that after doing the activities, 7 – 14 years old had a high level of appreciation (averaged 2.90). 15 – 24 years old had a high level of appreciation (averaged 3.03). 25 years or older had a high level of appreciation (averaged 3.24). Overall, all sample group have level of knowledge about Nan's textile handicrafts after doing the activities averaged 7.13 out of 10 points. The interest in Nan's textile handicraft after the activities (averaged 0.77) was greater than before the activities (averaged 0.17). Satisfaction with activities was at a high level (averaged 4.33). Experts evaluated the activities at the highest level (averaged 4.95).

Included in

Art Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.