Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The study of residential projects for elderly persons: case studies of Ban Bang Khae social welfare development center for older persons, Savangkanives and wellness city

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

ปกรณ์ ศิริประกอบ

Faculty/College

Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)

Department (if any)

Department of Public Administration (ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์)

Degree Name

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

รัฐประศาสนศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.736

Abstract

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุดำเนินการโดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุกับค่านิยมสำคัญของ 3 พาราไดม์ทางการบริหารจัดการภาครัฐ (3) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในโครงการที่พักอาศัยที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เเละ (4) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการใช้เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ การศึกษาจากเอกสารและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ทั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้บริหารโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จำนวน 1 คน และโครงการ Wellness City จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 คน จากการวิจัยพบว่ากรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร มีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management: OPM) เป็นค่านิยมหลัก โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย มีหลักการบริหารจัดการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS) เป็นค่านิยมหลัก และโครงการ Wellness City มีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) เป็นค่านิยมหลัก อย่างไรก็ตามผู้เขียนมองว่าทุกการบริหารจัดการต้องมีความผสมผสานกันของทั้ง 3 พาราไดม์ทางการบริหารจัดการภาครัฐที่ต้องนำมาบริหารจัดการทั้ง 3 พาราไดม์ให้เกิดความสมดุล โดยมีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่าเป็นพื้นฐานมีโครงสร้างองค์กรที่เข้มแข็ง มีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจ นึกหลักความคุ้มค่า มีตัวชี้วัดผลการทำงานของบุคคลเเพื่อคัดกรองคนที่มีประสิทธิภาพในองค์กร และเป็นองค์กรที่มีความเป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีมุมมองต่อประชาชนเป็นพลเมืองตื่นรู้ซึ่งนับว่าเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรที่สามารถตรวจสอบได้ มีคุณธรรมด้วยการใช้หลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ เมื่อมีการบริหารจัดการองค์กรที่ดีไม่ว่าจากภาคส่วนใดก็สามารถขับเคลื่อนสังคมก่อให้เกิดเป็นสังคมที่ดีสืบต่อไปได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research aimed to (1) study the key value of public management used in elderly persons management in various forms, and (2) develop the suitable principles of public management for each type of residential projects. (3) study the general demographic of eldery persons who lives residential projects (4) guildline for the management of residential project. This is a qualitative research, of which the instruments included documentary research, and in-depth interviews with the key informants, i.e., 1 executive from Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for Older Persons, Bangkok; 1 from Savangkanives, and 1 from Wellness City. According to the research, it was found that the case study of Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for Older Persons, Bangkok, relied on old public management (OPM) as the key value. Savangkanives relied on new public service (NPS) as the key value. And Wellness City relied on new public management (NPM) as the key value. However, the author viewed that all 3 management must combine 3 paradigms of public management for balance. OPM should be used as the foundation, with firm organizational structure and job completion as assigned. NPM should be used as a motivator for economic competitions, with the principles of value for money and no use of nonrenewable resources. Performance indicators should be used for screening competent persons in the organizations, which must hold to democracy and promote decision-making through people participation. They must also view people as active citizens. These are all the key mechanisms for organizational management and development. Accountability is also required, along with morality based on NPM. No matter which sector those organizations come from, as long as they rely on good management, they can drive the society for better in the future.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.