Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ผลของผงกระชายต่อประสิทธิภาพในการวางไข่ คุณภาพไข่ และระดับมาลอนไดแอลดีไฮด์ในไข่แดงของไก่ไข่

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

Chackrit Nuengjamnong

Second Advisor

Hatairat Plaimast

Faculty/College

Faculty of Veterinary Science (คณะสัตวแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Animal Husbandry (ภาควิชาสัตวบาล)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Applied Animal Science

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.2

Abstract

This study aimed to determine the effect of fingerroot powder supplementation on the performance of laying hens, egg quality, and malondialdehyde in the egg yolk. A total of 192 Hy-Line brown laying hens aged 43 weeks were divided into four treatment groups with 48 hens in each group (8 replicates; 6 birds each). The treatments were the control (basal diet), basal diet supplemented with vitamin E at 250 mg/kg, basal diet plus 20 g fingerroot powder/kg, and basal diet plus 40 g fingerroot powder/kg. Performance parameters were analyzed in the following two experimental period: 1 to 3 week and 4 to 6 week of treatment administration. Egg quality was evaluated twice at 3 and 6 weeks after feeding. The malondialdehyde (MDA) was measured in egg yolk at 0, 7, 14, and 21 days after storage at room temperature. No significant differences were observed in egg weight, laying rate, egg mass, feed intake and feed conversion ratio among the groups during the first experimental period. In the last period 4 to 6 week of experiment, dietary inclusion of 20 g fingerroot powder improved egg weight (P < 0.05) compared with control. The performance showed that during 6 weeks of feeding, the group supplemented with 40 g fingerroot powder had a decreased feed intake, but its feed conversion ratio was improved. The low feed intake in this group did not affect the laying rate, egg weight, and egg mass. There was no significant difference in egg quality for all variables except yolk color at 3 weeks of feeding. The yolk color was significantly lower in the feed supplemented with fingerroot powder at 40 g (P < 0.05). The egg quality at 6 weeks of feeding showed that 20 g fingerroot powder group had higher albumen and shell weight (P < 0.05). The experimental diets did not affect MDA levels in fresh or stored eggs. However, MDA level was affected by storage time and increased at 21 days. In this study, vitamin E or fingerroot powder did not show their antioxidant activity on the egg yolk. In conclusion, the addition of fingerroot powder has beneficial effects on egg weight, FCR, albumen and shell weights.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมผงกระชายในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถนะการให้ผลผลิต คุณภาพไข่ และระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์ในไข่แดง โดยทำการวิจัยในไก่ไข่พันธุ์ไฮไลน์บราวน์ที่อายุ 43 สัปดาห์ จำนวน 192 ตัว โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 48 ตัว แต่ละกลุ่มการทดลองมี 8 ซ้ำ ซ้ำละ 6 ตัว กลุ่มการทดลองประกอบด้วย กลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐาน (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐานเสริมวิตามินอี 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐานเสริมผงกระชาย 20 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร และกลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐานเสริมผงกระชาย 40 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร โดยทำการวิเคราะห์สมรรถนะการให้ผลผลิตใน 2 ช่วงการทดลอง ได้แก่ ช่วงอายุ 1 ถึง 3 สัปดาห์ และช่วงอายุ 4 ถึง 6 สัปดาห์ของการเสริมอาหาร ทำการประเมินคุณภาพไข่ 2 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 3 และ 6 หลังการเสริมอาหาร และตรวจวัดระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์ในไข่แดง ณ วันที่ 0, 7, 14 และ 21 หลังเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ในช่วงแรกของการทดลอง พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของน้ำหนักไข่ อัตราการวางไข่ มวลไข่ ปริมาณอาหารที่กิน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่ ระหว่างกลุ่ม ในสัปดาห์ที่ 4 ถึง 6 ของการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐานเสริมผงกระชาย 20 กรัม มีน้ำหนักไข่มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ในช่วง 6 สัปดาห์ของการเสริมอาหารพบว่า กลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐานเสริมผงกระชาย 40 กรัมมีปริมาณอาหารที่กินลดลง แต่มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่ดีขึ้น โดยปริมาณการกินอาหารที่ลดลงในกลุ่มการทดลองนี้ไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราการวางไข่ น้ำหนักไข่ และมวลไข่นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคุณภาพของไข่ในทุกตัวแปร ยกเว้นสีของไข่แดงในสัปดาห์ที่ 3 ของการเสริมอาหาร โดยระดับสีของไข่แดงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ในกลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐานเสริมผงกระชาย 40 กรัม ในการประเมินคุณคุณภาพของไข่ที่ 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐานเสริมผงกระชาย 20 กรัม มีน้ำหนักของไข่ขาวและเปลือกไข่ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) อาหารทดลองไม่ส่งผลต่อระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์ในไข่สดหรือไข่ที่เก็บรักษาไว้ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรักษาส่งผลกระทบต่อระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์ ซึ่งมีระดับสูงขึ้นในวันที่ 21 ของการเก็บรักษา ในงานวิจัยนี้พบว่าวิตามินอีและผงกระชายไม่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในไข่แดง จากการวิจัยสรุปได้ว่าการเสริมผงกระชายมีประโยชน์ต่อน้ำหนักไข่ ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่ รวมทั้งน้ำหนักของไข่ขาวและเปลือกไข่

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.