Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Classification of corporate landscapes in Thailand

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

วิลาสินี สุขสว่าง

Faculty/College

Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Landscape Architecture (ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม)

Degree Name

ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ภูมิสถาปัตยกรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.799

Abstract

ภูมิทัศน์องค์กร (corporate landscape) เป็นรูปแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่มีการใช้งานเป็นสำนักงานขององค์กรหรือสถานที่ทำงานของบุคลากรในองค์กร ในประเทศสหรัฐอเมริกาองค์กรธุรกิจชั้นนำหลายแห่งย้ายสำนักงานออกไปตั้งอยู่บริเวณชานเมือง พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการวางผังและออกแบบพื้นที่โครงการ จนเกิดเป็นภูมิทัศน์องค์กร โดยหลุยส์ โมซิงโก (Louise Mozingo) เรียกว่าพาสตอรัลแคปิตัลลิซึม (Pastoral Capitalism) และกล่าวว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ของอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากความแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้ทั่วโลกสนใจภูมิทัศน์องค์กรเช่นกัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมโครงการภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย 2) บ่งชี้แนวโน้มการพัฒนาภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยทั้งในมิติเชิงเวลาและมิติเชิงพื้นที่ 3) บ่งชี้ประเภทภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยและปัจจัยที่มีผลต่อการจำแนกประเภทดังกล่าว และ 4) อธิบายลักษณะการวางผังและออกแบบภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทย ผลการวิจัยพบภูมิทัศน์องค์กรที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันได้ทั้งสิ้น 46 โครงการ ในมิติเชิงเวลาพบว่ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง สู่ธุรกิจการเงิน จนเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 และฟื้นตัวด้วยอุตสาหกรรมบริการและธุรกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยพบว่าปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อแนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ นโยบายเศรษฐกิจจากภาครัฐ สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ส่วนในมิติเชิงพื้นที่พบว่าภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นหลัก โดยพบว่าข้อจำกัดด้านกฎหมายผังเมือง นโยบายเศรษฐกิจ และการกระจุกตัวของเครือข่ายเศรษฐกิจน่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มดังกล่าว โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ องค์กรสถาน สถาบันองค์กร ภูมิทัศน์สำนักงานร่วม และภูมินิเวศย่านธุรกิจ ซึ่งพบว่าปัจจัยด้านลำดับขั้นการบริหารองค์กรที่มีการแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการจำแนกประเภท นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทย่อยได้อีก 9 ประเภท ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านความเป็นเจ้าของ ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านขนาดพื้นที่ ด้านการกำหนดพื้นที่ใช้สอย และขอบเขตช่วงเวลา สามารถแบ่งเนื้อหาด้านการวางผังและออกแบบได้ 4 ประเด็น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมและการเข้าถึง การกำหนดพื้นที่ใช้สอย ลักษณะการวางผัง และลักษณะการออกแบบภูมิทัศน์ โดยพบว่าไม่มีรูปแบบตายตัวซึ่งเป็นผลมาจากประเภทธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กร ลำดับขั้นการบริหารจัดการองค์กร และลักษณะการออกแบบร่วมสมัย การวิจัยนี้นำมาซึ่งความเข้าใจพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมและสาขาที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสำหรับองค์กร ภูมิสถาปนิก นักออกแบบวางผัง และหน่วยงานรัฐ ในการพัฒนาแนวคิดและนโยบายเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของที่ทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาภูมิทัศน์องค์กรในประเทศไทยในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Corporate landscape refers to a type of landscape architecture used as a corporate workplace. In the United States, many leading corporations moved their offices to the suburbs, putting an emphasis on planning and design. Louise A. Mozingo called this new landscape “Pastoral Capitalism” and regarded it as “an American invention of the post-World War II period.” The American corporate landscape got attention from many corporations all over the world. The goals of this research included 1) to gather the corporate landscape projects in Thailand, 2) to analyze their development patterns, in terms of temporal and spatial dimensions, 3) to classify corporate landscapes in Thailand and to identify the classification factors, and 4) to examine Thailand's corporate landscape planning and design. The research located 46 corporate landscapes in Thailand. Considering their chronological development, the pioneering corporate landscapes in Thailand are those real estate and construction industry, followed by financial sector. After the 1997 economic crisis, Thailand's economy rebounded with the service industry and innovation and technology industry. The country's economic policy and fluctuation, along with the digital revolution seem to play a role in this trend. Regarding the locations of these corporate landscape projects, they are mostly concentrated in Bangkok and its vicinity. The urban planning regulations, the economic policy, and the concentration of the business network in Bangkok seem to play a role in this spatial pattern. There are four primary categories of corporate landscapes in Thailand: corporate headquarters, research campuses, co-offices landscape, and business district ecosystems. The managerial framework that divides a firm into departments appears to be a significant factor in classification. Additionally, due to other factors such as ownership, area usage, location, area size, and time period scope, they can be divided into 9 subordinate kinds. In terms of planning and design, four issues were considered: surrounding and accessibility, zoning, planning and landscape design. The research revealed that due to the heterogeneity of business types, managerial systems, and contemporary landscape design, corporate landscapes in Thailand lack a specific planning and design style. This research significantly provides information and insight which is tremendously crucial for landscape professionals, as well as those in related fields--especially for corporate executives, landscape architects, planners, governmental agencies to develop the concepts and policies, regarding workplace environment, to advocate the establishment of new and novel corporate landscapes in Thailand.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.