Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of a training program for enhancing resilience of generation y educational support personnels in higher education institutions

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

วาทินี อมรไพศาลเลิศ

Second Advisor

ชนัญชิดา ทุมมานนท์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยาการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.597

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ประสบการณ์การใช้ชีวิตและการทำงาน และประสบการณ์การฝึกอบรมที่ส่งผลต่อความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย 2. วิเคราะห์ผลของการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย ที่ออกแบบขึ้น 3. วิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย หลังจากที่ได้ใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ และ 4. นำเสนอโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ การวิจัยนี้ประยุกต์แนวคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) ในการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาต้นแบบและระยะที่ 2 การทดสอบและวิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ระยะที่ 1 การพัฒนาต้นแบบดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจ (Empathize) และขั้นนิยามปัญหา (Define) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ยากลำบากในชีวิตและการทำงาน และประสบการณ์ในการฝึกอบรมจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 11 คน เพื่อนำข้อมูลมาสู่ขั้นตอนที่ 2 ขั้นระดมความคิด (Ideate) และขั้นสร้างต้นแบบ (Prototype) โดยการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการการสังเคราะห์ทฤษฎี ข้อมูลประสบการณ์ และข้อมูลจากการระดมความคิด มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ผลการวิจัยพบว่าตัวอย่างวิจัยมักเกิดความคิดและความรู้สึกในเชิงลบ และแสดงพฤติกรรมที่ต่อสู้ หลีกเลี่ยงหรือหยุดนิ่งเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่ยากลำบาก โดยใช้เทคนิคการมีสติและการผ่อนคลายความเครียดเป็นส่วนใหญ่ นำมาสู่โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ รูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อกิจกรรม คือ การตระหนักรู้และการยอมรับ การนิยามคุณค่าและการคิดเชิงบวก การสื่อสารเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ และการตั้งเป้าหมายและการค้นหาสิ่งสนับสนุน จัดกิจกรรมครั้งละ 90 นาที โดยใช้แนวคิดการมีสติเป็นแนวคิดหลัก ระยะที่ 2 การทดสอบและวิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ มีกลุ่มตัวอย่างวิจัยจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ที่พัฒนาขึ้นจากขั้นตอนในระยะที่ 1 2) แบบประเมินความสามารถในการฟื้นพลังสำหรับผู้ใหญ่ 3) แบบประเมินความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้จากการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ และ 4) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างหลังจากการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ผลการวิจัยพบว่าคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวอย่างวิจัยมีความพึงพอใจในโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ในระดับมากที่สุดทุกด้าน นอกจากนี้ยังเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมเกี่ยวกับองค์ประกอบและกระบวนการของกิจกรรมเพื่อให้ตรงตามความต้องการต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research aims (1) to analyze the daily life and working experiences that affected to resilience of the generation Y educational support personnels in a higher education institution as well as their previous training experiences (2) to investigate the outcomes of the training program prototype for enhancing resilience of the educational support personnels (3) to explore the feedback of the educational support personnels towards the training program prototype (4) to propose the resilience training program prototype. This research was employed a Design thinking process. The study was divided into two phrases. Phrase 1 was to develop the prototype. Phrase 2 was to test and analyze the outcomes of the prototype. In Phrase 1, there were 2 steps. The first step is to empathize and define the problems by interviewing 11 participants about their life, work, and training experience. The collected data was used for the second step which were ideating and creating a prototype. In this step, five specialists from different areas of expertize were brainstorming ideas. Then, the data from theory synthesis, empathizing, ideating were used to design the training program prototype. The results found that when the participants encountered with the difficult situations, they usually had negative thoughts and feeling as well as various behaviors including fighting, avoiding the situation, or taking no action. The strategies that mostly have been used was mindfulness and relaxing techniques. Consequently, the training program prototype was created by consisting of four main topic activities including self-awareness and self-acceptance, value and positive thinking, creative positive communication, and goal setting and finding support. Each session was online and lasted for 90 minutes and employed the principles of Mindfulness. Phase 2 was a testing and investigating the outcomes of the training program prototype. Fourteen participants were invited to participate the study. The research instruments included 1) the developed training program in phase 1, 2) The Resilience Scale for Adults, 3) The satisfaction and benefit evaluation of the training program form and 3) the semi-structured interview form after using the training program prototype. The results showed that the resilience scores before and after participating in the training program prototype was a statistically significant difference at the .05 level. The Participants reported that they were satisfied with the training program prototype at the highest level in all aspects. They also provided feedback to improve the program regarding on the components and process of the program to meet further needs.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.