Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of resilience scale concerned with social desirability responses for the army nurse students

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

ณภัทร ชัยมงคล

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การวัดและประเมินผลการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.529

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังและแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร 2) ตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติ 3) ศึกษาระดับความสามารถในการฟื้นพลัง 4) เปรียบเทียบระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนพยาบาลทหารที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมและไม่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม สำหรับตัวอย่างวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนพยาบาลทหารของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 492 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย ค่าอำนาจจำแนก ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามตัวแปรที่ต้องการวัด การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังที่พัฒนาขึ้นมีจำนวน 58 ข้อ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ ปัจจัยสนับสนุนจากภายนอก ปัจจัยสนับสนุนจากภายใน ปัจจัยด้านทักษะในการจัดการปัญหาและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ส่วนแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมมีจำนวน 10 ข้อ เป็นมาตรประมาณค่า 7 ระดับ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ การหลอกลวงตนเอง และ การจัดการความประทับใจ 2. คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร ประกอบด้วย 1) ค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.31-0.66 2) ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามตัวแปรที่ต้องการวัด อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=95.32 df=86 p=0.23 CFI=1.00 NFI=0.92 RMR=0.04 RMSEA= 0.00) 4) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.95 ส่วนคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบการวัดการตอบความปรารถนาของสังคมประกอบด้วย 1) ค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20-0.46 ค่าดัชนีความสอดคล้องข้อคำถามกับตัวแปรที่ต้องการวัด อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 41.21 df=29 p=0.06 CFI=0.98 NFI=0.95 RMR=0.02 RMSEA=0.03 และ 4) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.57 3. นักเรียนพยาบาลทหารในภาพรวมมีความสามารถในการฟื้นพลังอยู่ในระดับปานกลาง โดยชั้นปีที่มีระดับความสามารถในการฟื้นพลังอยู่ในระดับสูงคือ ชั้นปีที่ 4 ส่วนชั้นปีที่มีระดับความสามารถในการฟื้นพลังอยู่ในระดับปานกลาง คือ ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่มีระดับความสามารถในการฟื้นพลังอยู่ในระดับต่ำคือ ชั้นปีที่ 3 4. ค่าเฉลี่ยระดับความสามารถในการฟื้นพลังระหว่างกลุ่มที่ไม่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมกับกลุ่มที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับความสามารถในการฟื้นพลังของกลุ่มที่มีและไม่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมเท่ากับ 237.10 และ 237.98 ตามลำดับ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The aims of this research are to 1) develop a resilience scale and social desirability responses scale for army nurse students 2) examine psychometric properties 3) explore the level of resilience and 4) compare the level of resilience of army nurse students between having social desirability and not having social desirability. The samples consist of 492 army nurse students in the nursing colleges under the Ministry of Defense. The analysis used descriptive statistic, discrimination index, The index of item-objective congruence (IOC), second order confirm factor analysis, Cronbach's alpha coefficient. The results showed that: 1. The developed resilience scale has 58 items, using a 5-point rating scale. The scale consists of 3 factors: external support, internal support and interpersonal problem-management skills. The social desirability developed scale has 10 items, using 7-point rating scale consists of 2 factors: self-deception and impression management. 2. The psychometric properties of the resilience scale for the army nurse students found that 1) The discrimination index is between 0.31-0.66 2) The index of item-objective congruence is between 0.60 to 1.00 3) The second order confirmatory factor analysis found that the measurement model has a goodness of fit (χ2=95.32 df=86 p=0.23 CFI=1.00 NFI=0.92 RMR=0.04 RMSEA=0.00) and 4) The Cronbach's alpha coefficient is 0.95. The psychometric properties of the social desirability scale consist of 1) The discrimination index is between 0.20-0.46 2) The index of item-objective congruence is between 0.60 to 1.00 3) The second order confirmatory factor analysis found that the measurement model has a goodness of fit (χ2= 41.21 df=29 p=0.06 CFI=0.98 NFI=0.95 RMR=0.02 RMSEA=0.03) and 4) The Cronbach's alpha coefficient is 0.57. 3. The overall level of resilience of army nursing students is moderate. The high level is in the fourth year army nursing students. The moderate level is in first year and the low level is in the third year. 4. The average level of the resilience between groups that responded with social desirability and without is not different with a statistical significance level at .05. The average of the groups with and without social desirability responses are 237.10 and 237.98 respectively.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.