Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Innovative reward-based crowdfunding decision model for start-up business

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น

Second Advisor

อัจฉรา จันทร์ฉาย

Third Advisor

ศิพัตม์ ไตรอุโฆษ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.741

Abstract

ในปัจจุบันนี้ การระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทนเป็นทางเลือกหนึ่งของการระดมทุนสำหรับผู้ประกอบการที่มีความต้องการเงินทุนไปใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เนื่องจากโครงการที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ใหม่ของผู้ประกอบการนั้นยังมีความเสี่ยงอยู่ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทนของธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น และพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทน รวมทั้งศึกษาการยอมรับและความเป็นไปได้ในการพัฒนาไปสู่ธุรกิจในเชิงพาณิชย์ของนวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการเก็บข้อมูลทั้งจากการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 คน และการวิจัยเชิงปริมาณจะเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 320 ราย ซึ่งได้ผ่านการทดสอบความน่าเชื่อถือและค่าความเที่ยงของเครื่องมือ มีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1. องค์ประกอบด้านผู้ประกอบการ (ประสบการณ์ในการระดมทุนมวลชนในอดีตที่ผ่านมา และประสบการณ์ในการให้เงินสนับสนุนโครงการระดมทุนมวลชนอื่น) 2. องค์ประกอบด้านลักษณะโครงการ (จำนวนรูปภาพของโครงการ การมีวีดีโอของโครงการและเวบไซด์สำหรับแสดงข้อมูลโครงการ และจำนวนของรางวัลตอบแทนที่หลากหลาย 3. องค์ประกอบด้านรูปแบบในการระดมทุนมวลชน (ระยะเวลาในการเปิดระดมทุนมวลชน เป้าหมายของจำนวนเงินที่ต้องการระดมทุนมวลชน และระยะเวลาในการจัดส่งของรางวัลตอบแทน) การพัฒนานวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทน มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การมองหานวัตกรรม 2. การกำหนดหัวข้อนวัตกรรม 3. การออกแบบนวัตกรรม 4. การพัฒนานวัตกรรม 5. การทดสอบและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ มีการใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องด้วยอัลกอริทึมของวิธีการถดถอยโลจิสติกส์และวิธีต้นไม้ตัดสินใจ โดยใช้ปัจจัยความสำเร็จจากองค์ประกอบด้านผู้ประกอบการ ด้านลักษณะโครงการ และด้านรูปแบบในการระดมทุนมวลชน ค่าความถูกต้องของแบบจำลองวิธีการถดถอยโลจิสติกส์และวิธีต้นไม้ตัดสินใจ อยู่ที่ 88.2% และ 88.8% ตามลำดับ การทดสอบการยอมรับนวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทนของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย พบว่า มีความพึงพอใจในความง่ายและความเหมาะสมในการใช้งาน ประโยชน์ที่ได้จากการใช้งาน และทัศนคติที่ดีต่อการใช้งาน การศึกษาความเป็นได้ในการดำเนินธุรกิจ มีการวิเคราะห์ใน 3 สถานการณ์ (สถานการณ์ที่แย่ที่สุด สถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่ดีที่สุด) โดยในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด โครงการนี้ยังมีผลการดำเนินงานน่าพอใจ ซึ่งสูงกว่าความเสี่ยงและต้นทุนของโครงการ และให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจแก่ผู้ถือหุ้น ดังนั้น โครงการนี้จึงเหมาะสำหรับการลงทุน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Currently, reward-based crowdfunding is an alternative fundraising channel for entrepreneurs who need seed funding to support their prototype production because of the risky nature of newly creative projects for entrepreneurs. The objectives of this research are to explore the success factors in project fundraising under a reward-based crowdfunding platform for start-up business, to develop and test the effectiveness of innovative reward-based crowdfunding decision model and to study the acceptance and feasibility of commercializing the developed model. A mixed method of study was used for gathering data from both qualitative and quantitative methods. The qualitative part was examined through in-depth interview with 11 experts and quantitative questionnaires were used to collect data from 320 samples, with validity and reliability tests as well as exploratory factor analysis and logistic regression analysis in order to demonstrate the key success factors that drive reward-based crowdfunding projects. The results show that the success factors can be categorized into three aspects: 1. The entrepreneurial aspect (no. of created projects and no. of project backings) 2. The project aspect (no. of images, having a video, having a project website and no. of available reward levels) 3. The campaign aspect (campaign duration, funding goal and the delivery time of reward). The development process for the innovative reward-based crowdfunding decision model consists of 5 stages: 1. Sighting 2. Conceptual construction 3. System and architectural design 4. Detail design and development 5. Product testing and commercialization. Machine learning techniques with logistic regression and decision tree algorithms are applied to assess the project’s success by considering finding results of entrepreneurial, project and campaign factors in this research. The accuracy of the logistic regression and decision tree models are 88.2% and 88.8%, respectively. The technology acceptance model that tested for innovative reward-based crowdfunding decision model with 30 samples was satisfied with their perceived ease of use, perceived usefulness and attitude towards use. A feasibility study was conducted in three scenarios (the worst, the base, and the best case) with satisfactory results of a higher return than risk and cost even in the worst case and delivery of a satisfactory return to shareholders. Consequently, this project is feasible for investment.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.