Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Graphic design for lifestyle products of Laos-Krang cotton weaving community, Banrai district, Uthai-Thani province by using superstitious maketing strategy

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์

Faculty/College

Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)

Degree Name

ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

ศิลปกรรมศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.548

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ภูมิปัญญาผ้าฝ้ายลาวครั่งของอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อใช้ในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ของอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อพัฒนาตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ของอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้กลยุทธ์มหาสมุทรสีคราม (Blue Ocean Strategy) 3) เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์ โดยใช้กลยุทธ์การตลาดโชคลาง (Superstitious Marketing Strategy) การดำเนินการวิจัยใช้วิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) โดยนำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลโดยการลงพื้นที่ชุมชนทอผ้าฝ้ายลาวครั่ง ด้วยวิธีสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) รวมถึงใช้วิธีเดลฟายประยุกต์ (Delphi) จากเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 1 ท่าน ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) 1 ท่าน และผู้รู้ด้านผ้าฝ้ายลาวครั่งในชุมชนทอผ้าฝ้ายลาวครั่ง อำเภอบ้านไร่ 23 ท่าน และยังสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นนักออกแบบที่มีประสบการณ์สูงและมีความเชี่ยวชาญด้านการสร้างตราสินค้าและการทำตลาด 3 ท่าน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และการอ้างอิงแบบต่อเนื่อง (Snowball Sampling) และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ดดยอาศัยแบบสอบถาม 3 ชุด ที่ผ่านการประเมินค่าความสอดคล้องของข้อคำถามในแบบสอบถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย หรือ Index of item-objective Congruence (I.O.C) ด้วยค่า 0.64, 0.90, 1.0 ตามลำดับ ไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งคือกลุ่มเจเนอเรชันวายไทยที่เกิดปี พ.ศ. 2525-2538 ที่ได้มาจากการเลือโดยบังเอิญ (Accident Sampling) และการอ้างอิงแบบต่อเนื่อง โดยใช้วิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของ Yamane (1967) เมื่อไม่ทราบจำนวนประชากรที่ระดับความเชื่อมั่น 95% คือจำนวน 400 คน และเก็บได้สมบูรณ์ในเวลาที่กำหนด จำนวน 133 คน สำหรับแบบสอบถามชุดที่ 1 (เพื่อโหวตเลือกชื่อตราสินค้า) จำนวน 210 คน สำหรับแบบสอบถามชุดที่ 2 (เพื่อโหวตเลือกแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์) และจำนวน 214 คน สำหรับแบบสอบถามชุดที่ 3 (เพื่อโหวตเลือกตราสัญลักษณ์) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกให้เป็นหมวดหมู่และนำข้อมูลมาถอดความเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบผลงานศิลปะ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทำโดยการหาค่าทางสถิติเชิงบรรยาย (ความถี่ ร้อยละ) พบว่า ภูมิปัญญาผ้าฝ้ายลาวครั่งของอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อใช้ในการออกแบบเรขศิลป์ สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ของอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ 1) ลวดลายจกของผ้าฝ้ายลาวครั่งใน 3 หมวดหมู่ที่เป็นเครื่องรางและสิริมงคล และ 2) กลุ่มสีสันฟลูออเรสเซนต์ งานวิจัยนี้ยังได้คำตอบของผลิตภัณฑ์และกลุ่มลูกค้าปัจจุบันของชุมชนทอผ้าฝ้ายลาวครั่ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ที่นำมาเป็นข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์หากลุ่มเป้าหมายใหม่ และในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ใหม่ซึ่งเป็นการพัฒนาตลาดใหม่ให้กับชุมชนทอผ้าฝ้ายลาวครั่ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ตามแนวทางของกลยุทธ์มหาสมุทรสีคราม สำหรับผลคำตอบเรื่องแนวทางการออกแบบเรขศิลป์โดยใช้กลยุทธ์การตลาดโชคลาง ได้แก่ การออกแบบชื่อตราสินค้าใหม่ การกำหนด 6 องค์ประกอบในการสร้างตราสินค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ การออกแบบตราสัญลักษณ์ และการออกแบบภาพกราฟิกที่สื่อสารอัตลักษณ์ (Identity Graphic) งานออกแบบทั้งหมดนี้ใช้แนวคิดรวบยอดของการออกแบบ (Design Concept) เรื่องความเชื่อโชคลาง ซึ่งมีที่มาจากกลยุทธ์การตลาดโชคลางซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักของงานวิจัยนี้ องค์ความรู้ใหม่ที่พบคือ "แนวทางเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ที่มีรากวัฒนธรรมเพื่อชุมชน โดยใช้แนวคิดจากภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นและแนวโน้มความนิยมของตลาด" ผู้ประกอบการในชุมชนอื่น ๆ ที่มีภูมิปัญญาพื้นถิ่นของวัฒนธรรมอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดี โดยการนำองค์ความรู้ใหม่ไปใช้กับชุมชนให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยกระบวนการที่ชาวชุมชนให้ความร่วมมือต่อการทำวิจัย (Community Participation Process) (Disatapundhu and others. 2019) 3 ขั้นตอนหลัก เรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) การมีทัศนคติที่ดีและเปิดรับต่อการพัฒนาใหม่ ๆ (Attitude) 2) การมีความเข้าใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ไปด้วยกัน (Understanding and Knowledge) และ 3) ผู้วิจัยและชาวชุมชนได้มีประสบการณ์ในการพัฒนาร่วมกัน (Hands-on experiences)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to 1) study and analyze Laos-Krang cotton wisdom of Banrai District, Uthai-Thani Province, to use in graphic design for new lifestyle products; 2) expand a new market for new lifestyle products, by using Blue Ocean Strategy; 3) explor guidelines for graphic design using Superstitious Marketing Strategy. The samples were composed of one community Development Officer specializing in Banrai District, Uthai-Thani Province; one Key Informant, 23 Laos-Krang cotton weaving group leaders in Banrai District, Uthai-Thani Province; three highly experienced designers with expertise in branding and Marketing (by means of Purposive and Snowball Sampling), and a target group, Thai Generation Y (by means of Accident and Snowball Sampling). The sample size of 400 Thai Generation Y for earch of three questionnaires was determined by using Yamane's formula of sample size with a confidence coefficient of 95% (Yamane, 1967); and 133, 210, and 214 samples for first, second and third questionnaires were completely collected respectively over the specified period of time. The research was conducted using Mixed Methodology, led by Qualitative research and followed by Quantitative Research. The Qualitative data were collected by field researches, applied Delphi methods, in-depth interview, focus group, discussions, observations and photographing; and were analyzed and synthesized by categorizing the findings for use as design elements. Furthermore, the research instruments used in collecting the Quantitative data were three I.O.C. assessed questionnaires with the scores 0.64, 0.90, and 1.0 in order. These questionnaires were for a target group, Thai Generation Y (born between 1982-1995), to vote for the final brand name, the final product design direction, and the final logo separately. The quantitative data were analyzed by using the descriptive statistics of arithmetic mean and standard deviation. Moreover, the three sets of research results answering the three research objectives were as follows: Firstly, Laos-Krang Cotton wisdom of Banrai District, Uthai-Thani Province, for use in graphic design for new lifestyle product design were 1) the three categories of Jok pattern corresponding to the superstition, and 2) the fluorescent color scheme of Jok pattern. Next, follow the guidelines for graphic design using superstitious marketing strategies. However, the key point of this research was a new body of knowledge including a guideline for the development of community cultural Lifestyle product using concepts of local culture wisdom and markrting trend, which can be used as a guideline for entrepreneurs in Southease Asia including Thailand, to apply for their communities with indigenous wisdom of other cultures. Last but not least, the successfull application of the new body of knowledge to any community requires a Community Participation Process (Disatapundhu and others. 2019) in three main steps respectively, which are 1) Attitude, 2) Understanding and Knowledge and 3) Hands-on experiences.

Included in

Fine Arts Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.