Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Comparison of body composition variables between post-bariatric surgery patients and non-operative controls

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

พัชญา บุญชยาอนันต์

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.1327

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก ที่ระยะเวลา 12 เดือน และเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน ที่มี อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักด้วยวิธี Laparoscopic Roux-en-Y gastric bypass(LRYGB) หรือ Laparoscopic sleeve gastrectomy(LSG) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงปี พ.ศ.2558-2562 ที่หลังผ่าตัดที่ 12 เดือน มีค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 30 กิโลกรัม/เมตร2 กลุ่มควบคุมคือกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะที่มี อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน และไม่มีโรคประจำตัว วิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายด้วยเครื่อง Inbody 770 ที่คลินิกอายุรกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน จากการศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มผู้ป่วยมีค่าสัดส่วนเอวต่อสะโพก (waist-hip ratio)(0.83 และ 0.9, P-value <0.001) ร้อยละของไขมันในร่างกาย (percentage of body fat)(ร้อยละ 30.6 และ ร้อยละ 35.9, P-value 0.001) มวลไขมันบริเวณลำตัว (trunk fat mass)(10.3 กิโลกรัม และ 12.4 กิโลกรัม , P-value 0.04) และ มวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะบริเวณแขนขา (appendicular lean mass)(9 กิโลกรัม และ 16.9 กิโลกรัม, P-value <0.001) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีค่ามวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะทั้งร่างกาย (soft lean mass)(47.7 กิโลกรัม และ 39.9 กิโลกรัม, P-value 0.001) มวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะบริเวณลำตัว (trunk lean mass)(21.2 กิโลกรัม และ 19 กิโลกรัม, P-value 0.02) มวลกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle mass)(27.5 กิโลกรัม และ 23 กิโลกรัม, P-value 0.003) และ มวลกายไร้ไขมัน (fat free mass)(51.1 กิโลกรัม และ 42.3 กิโลกรัม, P-value 0.001) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าหลังผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก ที่ระยะเวลา 6 เดือน และ 12 เดือน ค่าตัวแปรองค์ประกอบของร่างกายลดลงทั้งหมด โดยเห็นผลลดลงมากสุดที่ระยะเวลา 12 เดือนหลังเข้ารับผ่าตัด สรุปการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก แม้ค่าตัวแปรองค์ประกอบของร่างกาย เช่น มวลไขมัน มวลกายไร้ไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ลดลงทั้งหมดในช่วงตลอดระยะเวลา12 เดือน หลังเข้ารับการผ่าตัด แต่ มวลกล้ามเนื้อ และมวลกายไร้ไขมันในกลุ่มผู้ป่วยนั้น ยังคงสูงกว่าในกลุ่มควบคุมที่อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Objective: To evaluate the changes in body composition of post-bariatric surgery patients at 12 months follow-up and comparing with non-operative controls who were matched for age, sex and BMI.[PB1] Methods: This is an observational analytic study using the data from post-bariatric surgery patients who were performed laparoscopic Roux-en-Y gastric bypass (LRGB) or laparoscopic sleeve gastrectomy (LSG) at King Chulalongkorn Memorial Hospital during the period of January 2015-December 2019. Patients who had achieved BMI of <30 kg/m2 within 12 months after the surgery were included. Non-operative healthy controls matched for sex, age and BMI were recruited. To evaluate body composition, single Bioelectrical impedance analysis (BIA) (Inbody 770) machine was used for the entire study. Results: Sixty participants were included in this study (30 post-bariatric surgery patients, 30 non-operative controls). Comparing with non-operative controls, post-bariatric surgery patients had less waist-hip ratio (WHR)(0.83 vs 0.9 , P-value <0.001), percentage of body fat (PBF)(30.6 % vs 35.9 %, P-value 0.001), appendicular lean mass (ALM) (9 kg vs 16.9 kg, P-value <0.001) and trunk fat mass (10.3 kg vs 12.4 kg, P-value 0.04), and had more soft lean mass (SLM) (47.7 kg vs 39.9 kg, P-value 0.001), fat free mass (FFM) (51.1 kg vs 42.3 kg, P-value 0.001), skeletal muscle mass (SMM)(27.5 kg vs 23 kg, P-value 0.003), trunk lean mass (21.2 kg vs 19 kg, P-value 0.02). At 6 months and 12 months after performing bariatric surgery, there were statistically significant reduction on all of body composition variables. Conclusion: Despite the significant reductions in all body composition variables in post-bariatric surgery patients at 12-month follow-up, fat free mass and skeletal muscle mass still appeared to be higher compared to the control group.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.