Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of an educational intervention prototype to enhance growth mindset and numeracy skills for elementary students who are at risk of mathematics

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

วาทินี อมรไพศาลเลิศ

Second Advisor

กนิษฐ์ ศรีเคลือบ

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยาการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.764

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์และผลการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ 2. เพื่อออกแบบต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงฯจากข้อมูลประสบการณ์ของนักเรียน 3. เพื่อวิเคราะห์ผลของการใช้ต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงฯ กระบวนการวิจัยประยุกต์ใช้ กระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (design thinking process) เป็นแนวทางหลักในการดำเนินการวิจัย ซึ่งแบ่งการวิจัยและผลการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ดำเนินการสังเกต การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการวิเคราะห์เอกสาร เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์และผลการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณศึกษากับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน (นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย) ผู้ปกครองนักเรียน 5 คนและครู 3 คน ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ที่ผ่านมานักเรียนกลุ่มเป้าหมายไม่เคยได้รับการช่วยเหลือทางการศึกษาอย่างเป็นทางการ มีเพียงการสอนเสริมจากครูเป็นครั้งคราว ผู้ปกครองนักเรียนเคยให้นักเรียนเรียนเสริมหลังเลิกเรียนแต่ปัจจุบันไม่มีนักเรียนคนใดเรียนเสริมหลังเลิกเรียน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 เชื่อว่าตนเองไม่มีความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ ครูและผู้ปกครอง มีความเชื่อว่าสติปัญญาเป็นสิ่งที่ส่งผ่านทางพันธุกรรม ครูผู้สอนคณิตศาสตร์เชื่อว่า ศักยภาพในการเรียนรู้ของสมองเรียนรู้ได้อย่างจำกัด ลักษณะที่เป็นปัญหาจากการช่วยเหลือที่ผ่านมาคือ กิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ไม่ตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียน การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนในเชิงตัดสิน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกเชิงลบต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2 นำผลการศึกษาประสบการณ์ในระยะที่ 1 มานิยามปัญหาและใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการอภิปรายกลุ่ม (focus group discussion) เพื่อการระดมความคิดเพื่อออกแบบต้นแบบการช่วยเหลือจากครูผู้เชี่ยวชาญซึ่งเลือกมาแบบเจาะจงจำนวน 4 คน จากนั้นสังเคราะห์ผลจากการอภิปรายกลุ่มร่วมกับต้นแบบเชิงทฤษฎีที่สังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และออกแบบต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาฯ ที่จะนำไปใช้ในระยะที่ 3 ผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า ต้นแบบดังกล่าวประกอบไปด้วยกิจกรรมทั้งหมด 10 กิจกรรม กิจกรรมละ 60 นาที แต่ละกิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นเสริมสร้างกรอบความคิด ขั้นคณิตคิดสนุก/สนุกคิด และขั้นปลุกพลังในตัวเอง ระยะที่ 3 ดำเนินวิจัยเชิงทดลองเพื่อวิเคราะห์ผลของการใช้ต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณ โดยผู้ให้ข้อมูลคือ นักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงฯ จำนวน 3 คนและ ครู (ผู้ใช้ต้นแบบฯ) ที่ได้รับการคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ ผลการวิจัยระยะที่ 3 พบว่า หลังเข้ารับการทดลองนักเรียนทุกคนมีคะแนนกรอบความคิดเติบโตเพิ่มขึ้น มีคะแนนกรอบความคิดเติบโตเฉลี่ยหลังการทดลองเท่ากับ 20.67 (SD. = 0.58) และมีคะแนนทักษะทางการคำนวณเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ผลสะท้อนจากผู้ใช้ (ครู) ระบุว่า ต้นแบบการช่วยเหลือฯ มีความกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมและสามารถเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณได้จริง พร้อมทั้งนำสารสนเทศในการปรับปรุงและพัฒนาต้นแบบให้มีความเหมาะสมต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this study were 1. to analyze the experiences and previous educational interventions’ results towards growth mindset and numeracy skills of at-risk students in mathematics 2. to design a prototype of an educational intervention that enhances students' growth mindset and numeracy skills based on students' experiences 3. to analyze the effects of the educational intervention prototype towards growth mindset and numeracy skills of at-risk students. Three phases of this study were applied the Design Thinking process as a research design. Phase 1: A set of data was collected through observation, semi-constructed interview and document analysis in order to analyze students ‘experiences and previous educational interventions result in growth mindset and numeracy skills of at-risk students in mathematics. Participants were 5 students in grade 3rd who are at-risk in mathematics, 5 parents and 3 teachers. The result found the target students have never been provided with any educational interventions. Instead, they were provided with some tutorial sections. Students had been encouraged by parents to take an extra class after school while recently none of the students attended. 80% of the target students believed that they lacked mathematic skills. The teacher and parents also believed that intelligence is hereditary and there is the limitation of personal learning capability. Furthermore, the previous mathematics activities were not response to student learning. The students received negative feedback: as a result; they had a negative feeling towards mathematics learning. Phase 2: Data of experience of the target students from phases 1 was used to define problems. Actionable problems have been ideated through focus group discussion by 4 purposive experienced teachers. Then, data from the focus group discussion was analyzed along with the theoretical prototype which is related to literatures and research in order to develop the educational intervention prototype. This prototype would be tested in the next phase. As a result, the prototype consists of 10 activities with 60 minutes each. Each session is divided into 3 parts which are Enhancing growth mindset, Math is fun and Empowering yourself. Phase 3: The experimental research design was employed to investigate the effects of the educational intervention prototype. Participants as a key performant were 3 at-risk students and 1 qualified teacher who was a prototype implementor. The result found that after the intervention, growth mindset of the target students had raised with a scored at 20.67 (SD.= 0.58). Besides, all target students had increased their numeracy skill score to reach over 80%. The user (teacher) reflected that the educational intervention prototype had various activities and could definitely improve growth mindset and numeracy skills of the students. Data from the testing phase can also assist the user in modify and develop a further intervention for those students.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.