Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

EFFECTS OF DIFFERENT TYPES OF FEEDBACK AND ANSWER CHANGING ON ACHIEVEMENT, GAINED SCORE, AND ABILITY TO SOLVE PHYSICS PROBLEMS OF TENTH GRADE STUDENTS

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การวัดและประเมินผลการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.720

Abstract

การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบให้คำชี้แนะคงที่ แบบให้คำชี้แนะลดลง และแบบบอกผลการกระทำ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนที่ไม่ได้รับและได้รับโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบ และ (3) วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 381 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ (1) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องงานและพลังงานซึ่งทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์และมีการให้ข้อมูลย้อนกลับ 3 ประเภท จำนวน 2 ฉบับ ที่มีความเป็นคู่ขนานกัน (2) แบบสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์จำนวน 2 ฉบับ ที่มีความเป็นคู่ขนานกัน และ (3) แบบสอบถามเกี่ยวกับโปรแกรมการทดสอบและข้อมูลย้อนกลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (MANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, Wilks' Lambda = .93, F(6, 752) = 4.37, p < .001, ηp2 = .03 นั่นคือ นักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบให้คำชี้แนะคงที่และแบบให้คำชี้แนะลดลงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกผลการกระทำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งนักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบให้คำชี้แนะคงที่และแบบให้คำชี้แนะลดลงมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกผลการกระทำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม นักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีคะแนนที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีรูปแบบการเปลี่ยนคำตอบต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, Wilks' Lambda = .93, F(2, 378) = 14.84, p < .001, ηp2 = .07 นั่นคือ นักเรียนที่ได้รับการเปิดโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการเปิดโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งนักเรียนที่ได้รับการเปิดโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการเปิดโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05, Wilks' Lambda = .98, F(4, 748) = 1.81, p = .13, ηp2 = .01 ทั้งนี้ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่นัยสำคัญ ทางสถิติระดับ .05 อย่างไรก็ตาม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่ส่งผลต่อความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This experimental research aimed to (1) compare achievement, gained score and ability to solve physics problems among students provided with static feedback with hints, reducing feedback with hints and knowledge of response feedback, (2) compare achievement and ability to solve physics problems among students who got and did not get the opportunities to change answers, and (3) examine interaction between feedback types and answer changing on achievement and ability to solve physics problems. Participants were 381 tenth grade students which were randomized by using multistage sampling method. Materials composed of two parallel computerized tests provided with 3 feedback types, two parallel physics problem-solving tests, and feedback and answer changing questionnaire. Descriptive statistics, t-test, ANOVA and MANOVA were performed to analyze the data. Research findings can be summarized as follows 1. The achievement, gained score and ability to solve physics problems of students provided with different feedback types were statistically significant different at .05 level, Wilks' Lambda = .93, F(6, 752) = 4.37, p < .001, ηp2 = .03. The achievement of students provided with different feedback types was statistically significant different at .05 level. Students provided with static feedback with hints and those provided with reducing feedback with hints had significantly higher achievement than students provided with knowledge of response feedback. Similarly, the ability to solve physics problems of students provided with different feedback types was statistically significant different at .05 level. Students provided with static feedback with hints and those provided with reducing feedback with hints had significantly higher ability to solve physics problems than students provided with knowledge of response feedback. However, the gained score of students provided with different feedback types was not statistically significant different at .05 level. 2. The achievement and ability to solve physics problems of students who got and did not get the opportunities to change answers was statistically significant different at .05 level, Wilks' Lambda = .93, F(2, 378) = 14.84, p < .001, ηp2 = .07. Students who got the opportunities to change answers had significantly higher achievement than those who did not get the opportunities to change answers. Furthermore, students who got the opportunities to change answers had significantly higher ability to solve physics problems than those who did not get the opportunities to change answers. 3. There was no interaction between feedback types and answer changing on achievement and ability to solve physics problems at .05 level of significance, Wilks' Lambda = .98, F(4, 748) = 1.81, p = .13, ηp2 = .01. Similarly, there was no interaction between feedback types and answer changing on achievement at .05 level of significance. However, there was an interaction between feedback types and answer changing on ability to solve physics problems at .05 level of significance.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.