Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)
Publication Date
2020-06-01
Abstract
การลดการใช้รถยนต์นั้นจำเป็นต้องมีการจัดการความต้องการในการเดินทาง (Travel Demand Management: TDM) เพื่อโน้มน้าวให้ผู้เดินทางเลือกใช้รูปแบบอื่นในการขนส่ง เช่น ระบบ การขนส่งสาธารณะ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นระบุกลยุทธ์หรือมาตรการในการลดการใช้รถยนต์ที่ เป็นไปได้โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ในการควบคุมนั้นประกอบไปด้วยมาตรการเชิงโครงสร้าง (Structural Intervention) และมาตรการเชิงจิตวิทยา (Psychological Intervention) เพื่อผลักดันและโน้มน้าวให้ ผู้เดินทางลดการใช้รถยนต์และเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการขนส่งอื่น ในการระบุมาตรการที่เหมาะสม ได้ทำ การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางและผลตอบรับต่อมาตรการต่างๆ ผ่านแบบสอบถาม จากผลการสำรวจ พบว่ามาตรการที่มีศักยภาพต่อการลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นมาตรการเชิงโครงสร้าง ได้แก่ มาตรการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ มาตรการยืดหยุ่นเวลาทำงาน
DOI
10.58837/CHULA.TRANSLOG.2020.1.5
First Page
97
Last Page
119
Recommended Citation
ไทยทัตกุล, ภาธินันท์; แสงหัตถวัฒนา, พัฒนพงษ์; and อนุชิตชาญชัย, อรณิชา
(2020)
"การจัดการความต้องการในการเดินทางเพื่อลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล,"
Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG): Vol. 2020:
Iss.
1, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.TRANSLOG.2020.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/translog/vol2020/iss1/6