Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)
Publication Date
2018-06-01
Abstract
บทความนี้ศึกษาสถานภาพการบังคับใช้ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อโดยรัฐขององค์การ การค้าโลก (Government Procurement Agreement/GPA) และศึกษาสถานภาพของประเทศไทย ใน GPA ในมิติต่าง ๆ คือ การเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐภายใต้บริบทข้อตกลงทวิภาคีของ ประเทศไทย และความเชื่อมโยงระหว่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กับ GPA ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่มีผลบังคับใช้วันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2017 จากการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1996 จนถึงปัจจุบัน สมาชิกขององค์การการค้าโลกที่เข้าร่วม เป็นภาคีสมาชิกของ GPA มี 47 ประเทศ โดยเป็นประเทศในยุโรป 37 ประเทศ นอกจากนี้มีประเทศ ผู้สังเกตการณ์จำนวน 31 ประเทศ โดย 17 ประเทศเป็นประเทศจากเอเชีย ซึ่งมีประเทศไทยรวม อยู่ด้วย สำหรับความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับ 3 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น ยังไม่มีการผูกพันระหว่างกัน เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนข้อมูล กฎหมาย และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ส่วนพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีหลัก การที่สอดคล้องกับ GPA ในเรื่องความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมมากขึ้น ในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ แต่ยังมีเนื้อหาบางประการที่ไม่สอดคล้องกับ GPA ในประเด็นเกี่ยวกับ หลักการไม่เลือกปฏิบัติ และหลักปฏิบัติเยี่ยงชนชาติ อย่างไรก็ตามการผูกพันตาม GPA จะต้องคำนึง ถึงความสามารถในการแข่งขันระหว่างไทยกับภาคีสมาชิก เนื่องจากภาคีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐสูงกว่าประเทศไทย
DOI
10.58837/CHULA.TRANSLOG.2018.1.4
First Page
76
Last Page
98
Recommended Citation
สุขดานนท์, สุมาลี
(2018)
"การเปิดตลาดตามพันธกรณีความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อโดยรัฐ ขององค์การการค้าโลกที่มีต่อการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐของไทย,"
Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG): Vol. 2018:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.TRANSLOG.2018.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/translog/vol2018/iss1/5