Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)
Publication Date
2018-06-01
Abstract
งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาแบบจำลอง เพื่อศึกษาและวเคราะหแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของรูปแบบการขนส่งภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ข้อมูลโครงข่ายเส้นทาง การขนส่งสินค้าและปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันจากฐานข้อมูล GTAP แล้วนำไปสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการขนส่งที่เหมาะสมที่สุด จากนั้นจึงนำแบบจำลอง ที่ได้ ไปวิเคราะห์หาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการขนส่งที่จะเกิดขึ้นหากเกิดโครงการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในอนาคตเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) โดยรูปแบบการขนส่งที่ศึกษา คือ ทางบก ทางทะเล และทางอากาศ และแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ (2) แบบ จำลองการขนส่งสินค้าด้วยสมมติฐาน อุปสงค์คงที่ และการขนส่งรูปแบบเดียว (3) แบบจำลอง การเลือกรูปแบบการเดินทาง และ (4) แบบจำลองการจัดสรรปริมาณสินค้าในแต่ละเส้นทางการขนส่ง โดยใช้ Wadropian User Equilibrium ผลการศึกษาพบว่า การขนส่งสินค้าในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้นั้น ทางทะเลมีสัดส่วนมากที่สุด คือ ร้อยละ 65.10 รองลงมา คือ การขนส่งทางบก และทางอากาศที่ร้อยละ 26.65 และ 8.25 ตามลำดับ และจากการศึกษาจะพบว่า แนวโน้มของ ปริมาณการขนส่งสินค้าทางบกในแต่ละเส้นทางจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.38 และต้นทุนรวมจากการขนส่ง สินค้าทางบกในทุก ๆ เส้นทางจะลดลงร้อยละ 8.69 หากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกิดขึ้น
DOI
10.58837/CHULA.TRANSLOG.2018.1.1
First Page
7
Last Page
34
Recommended Citation
บัณฑิตสกุลชัย, พงษ์สันธ์; เกียรติธนะบำรุง, ธนพร; and สันตวัตร, ธนัชพร
(2018)
"การพัฒนาแบบจำลองเพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของรูปแบบการขนส่งภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,"
Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG): Vol. 2018:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.TRANSLOG.2018.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/translog/vol2018/iss1/2