Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)
Publication Date
2017-06-01
Abstract
การศึกษาการขนส่งสินค้าทางรถไฟในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ ปัญหานโยบายของรัฐบาลและกฎหมายที่มีผลต่อการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ปัญหาที่พบแบ่ง ออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบาย จากแผนพัฒนาประเทศในระดับแรก เน้นการพัฒนาการขนส่ง ทางถนนมากเกินไป เมื่อประเทศเกิดภาวะน้ำมันแพงประกอบกับแผนพัฒนาประเทศมุ่งสู่รูปแบบการ ขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า ทำให้มีการขนส่งสินค้าทางรถไฟเพิ่มมากขึ้น 2) กฎระเบียบของรถไฟ ที่ล้าสมัย ไม่ทันต่อสภาพปัจจุบัน กฎหมายรถไฟมีจุดเน้นที่การกำกับและควบคุมการบริหารของรถไฟ ทำให้ เกิดการขาดทุนสะสมเกือบแสนล้านบาท 3) ปัญหาอื่น ๆ เช่น ขาดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุน การใช้การขนส่งสินค้าทางรถไฟ ภาพลักษณ์ของการบริการขนส่งสินค้าทางรถไฟไม่ดี แนวทางการ พัฒนา คือ กำหนดแผนพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางรถไฟเป็นแผนพัฒนาที่ไม่อิงกับนโยบายฝ่าย บริหารเพื่อให้การบริหารจัดการรถไฟมีทิศทางชัดเจนและต่อเนื่อง การปฏิรูปโครงสร้างองค์กรรถไฟ เพื่อสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดแผนจัดหาอุปกรณ์รถไฟ ลงทุนด้านอุปกรณ์ เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณสินค้าที่ขนส่งในปัจจุบันและรองรับอนาคตที่จะเกิดขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการ บริการให้มากขึ้น แนวทางพัฒนากฎระเบียบ คือ การปรับปรุงกฎหมายรถไฟให้มีความทันสมัยมาก ขึ้น ให้ดำเนินการหรือจัดหาบริการให้แก่ประชาชนและขนส่งสินค้า และการรถไฟฯ สามารถประกอบ การได้โดยให้เกิดความอิสระด้านราคาที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ และแนวทางแก้ปัญหาด้านอื่น ๆ คือ การเพิ่มมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนหันมาใช้การขนส่งสินค้าทางรถไฟมากขึ้น สร้าง ภาพลักษณ์ใหม่ให้การรถไฟฯ มีความทันสมัยทั้งด้านเครื่องจักรกล อุปกรณ์ในการดำเนินกิจการ และ บุคลากร
DOI
10.58837/CHULA.TRANSLOG.2017.1.3
First Page
41
Last Page
54
Recommended Citation
เจริญปัญญายิ่ง, สุนันทา
(2017)
"ปัจจัยภาครัฐและกฎหมายในพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟในประเทศไทย,"
Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG): Vol. 2017:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.TRANSLOG.2017.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/translog/vol2017/iss1/4