•  
  •  
 

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

Publication Date

2016-06-01

Abstract

ประเทศไทยมีการขนส่งสินค้าทางชายฝั่งเฉลี่ยร้อยละ 6-8 ปัญหาและอุปสรรคของการขนส่ง สินค้าชายฝั่ง แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ 1) แผนพัฒนาและนโยบายของรัฐที่มีต่อการขนส่งชายฝั่งในระดับต่างๆ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่าทั้งการขนส่งทางน้ำและทาง ราง งบประมาณในการพัฒนาการขนส่งชายฝั่งส่วนใหญ่ถูกใช้ในเรื่องของการขุดลอกร่องน้ำ และการ ศึกษาเพื่อก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือ ท่าเรือชายฝั่งมีทำเลที่ตั้ง ของท่าเรือไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่มีร่องน้ำเดินเรือลึกประมาณ 4-5 เมตร ทำให้เรือที่เข้าเทียบท่าเรือมี ขนาดไม่เกิน 28 เมตร เรือขนาดใหญ่ต้องรอช่วงน้ำขึ้นสูงสุด ทำให้การจราจรที่คับคั่ง เกิดอุบัติเหตุได้ ง่าย การใช้เรือขนาดเล็กขนถ่ายต่อไปยังเรือขนาดใหญ่ที่จอดทอดสมอรอด้านนอกทำให้เกิดการขนส่ง สองต่อ (Double Handling) ท่าเรือขาดพื้นที่แนวหลังนำเข้า - ส่งออกสินค้าผ่านท่าเรือ ขาดนิคม อุตสาหกรรมรองรับ และการคมนาคมที่เชื่อมต่อท่าเรือยังไม่เพียงพอ 2) ปัญหากฎระเบียบควบคุม ทั้งท่าเรือชายฝั่ง เรือชายฝั่ง และสินค้าชายฝั่ง 3) ปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ การบริหารและจัดการท่าเรือ ชายฝั่งของกรมธนารักษ์ ขาดมาตรการส่งเสริมการขนส่งสินค้าชายฝั่ง ขาดคนประจำเรือชายฝั่ง ขาด ความชำนาญด้านการตลาด เป็นต้น การแก้ไขปัญหาระบบการขนส่งชายฝั่งทั้งระบบโดยควรกำหนด แผนพัฒนาการขนส่งสินค้าชายฝั่งที่ชัดเจนและต่อเนื่อง กำหนดงบประมาณเพื่อใช้ในการพัฒนาอย่าง เหมาะสมกับแผนปฏิบัติการ การประเมินผลแผนงานที่ไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย การจัดตั้งคณะ กรรมการท่าเรือแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานท่าเรือของประเทศให้ เป็นระบบ มีเอกภาพและประสิทธิภาพ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของ การขนส่งชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อลดขั้นตอนของการขนส่งสินค้าชายฝั่ง และกำหนดแนวทางส่งเสริม และมาตรการสนับสนุนเพื่อให้มีการใช้การขนส่งสินค้าชายฝั่งมากขึ้น และเร่งการเปิดใช้ท่าเรือชายฝั่ง สาธารณะเพื่อให้ทันกับปริมาณการขนส่งสินค้าทางชายฝั่งที่จะเพิ่มขึ้น

DOI

10.58837/CHULA.TRANSLOG.2016.1.5

First Page

74

Last Page

95

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.