Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)
Publication Date
2015-01-01
Abstract
บทความนี้นำเสนองานวิจัยที่พิจารณาหานโยบายการกำหนดชั้นทางและมาตรฐานการออกแบบทางเรขาคณิต ที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยจะพิจารณาและเปรียบเทียบกับมาตรฐานงานทางในต่างประเทศ ศึกษาผลกระทบใน ด้านปลอดภัยจากการปรับปรุงมาตรฐานงานทาง ตลอดจนสอบถามความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ วิศวกร ในกรมทางหลวง วิศวกรผู้ออกแบบงานทาง และผู้ใช้ทาง จากการเปรียบเทียบมาตรฐานการออกแบบทางหลวงใน ประเทศไทยกับต่างประเทศ พบว่าไทยมีการกำหนดชั้นทางโดยใช้ปริมาณการจราจรเฉลี่ยต่อวัน และมีค่าของความเร็ว ในการออกแบบความกว้างช่องจราจร และความกว้างไหล่ทางน้อยกว่าประเทศอื่น ยกเว้นสาธารณรัฐเกาหลีและประเทศมาเลเซีย จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ทาง พบว่า มีความเห็นส่วนใหญ่ให้ปรับปรุงการออกแบบทางเรขาคณิต ของทางหลวงไทยในปัจจุบัน และเห็นว่าควรปรับปรุงความเร็วในการออกแบบมากที่สุด และเมื่อนำมาวิเคราะห์หาความ สัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สมการถดถอยแบบออร์เดอร์โพรบิท ก็พบว่าความเร็วสูงสุดที่ใช้ในการขับขี่และอายุมีผลกระ ทบต่อความคิดเห็นมากที่สุด ส่วนสุดท้ายคือการสอบถามความคิดเห็นของวิศวกร พบว่ามีความเห็นส่วนใหญ่ให้ปรับปรุง การออกแบบทางเรขาคณิตในปัจจุบันเช่นกัน โดยเฉพาะความเร็วในการออกแบบ อีกทั้งยังคงมีความเห็นว่าควรเพิ่มค่าความเร็วในการออกแบบและค่าความกว้างช่องจราจรของทางหลวงชั้นทางพิเศษ รวมไปถึงค่าความกว้างไหล่ทางขั้นต่ำ ผลจากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายและผู้ออกแบบให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ทางได้ดียิ่งขึ้นต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.TRANSLOG.2015.1.6
First Page
70
Last Page
77
Recommended Citation
เศวตจินดากุล, วุฒิชัย
(2015)
"การทบทวนนโยบายการกำหนดชั้นทางและมาตรฐานในการออกแบบทางเรขาคณิตของทางหลวงในประเทศไทย,"
Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG): Vol. 2015:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.TRANSLOG.2015.1.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/translog/vol2015/iss1/7