Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)
Publication Date
2008-01-01
Abstract
ท่าเรือจัดว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีบทบาทที่สำคัญสำหรับธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก และการค้าระหว่างประเทศ และเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีความมั่นคง และเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ขณะที่ความสำคัญในการพัฒนาท่าเรือ ของไทยให้เป็นท่าเรือศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการ แข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการดำเนินการตาม นโยบายของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกเป็นภารกิจที่สำคัญของผู้ที่ เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะท่าเรือจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ผู้ใช้ บริการในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการสำรวจคุณภาพในการให้บริการจึงเป็นสิ่ง สำคัญยิ่งในอันที่จะนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการ การศึกษาคุณภาพในการให้บริการครั้งนี้เริ่มสำรวจในปี 2548 ได้มีการทบทวน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการพฤติกรรมผู้บริโภคและทฤษฏีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยได้มีการประยุกต์ใช้ทฤษฏี GAP Analysis และโมเดล Performance-Importance Analysis เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง โดยสำรวจผู้ใช้บริการด้านเรือ (บริษัทสายการเดินเรือและบริษัทตัวแทนเรือ) จำนวน 84 บริษัท และผู้ใช้บริการด้านสินค้า (บริษัทผู้นำเข้า-ส่งออก และบริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้า) จำนวน 180 บริษัท มีอัตราการตอบ กลับคิดเป็น 84.0 เปอร์เซ็นต์ ผลการสำรวจได้ถูกนำมาประมวลผลและการวิเคราะห์ โดยใช้ โปรแกรม SPSS ควบคู่กับการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้บริการด้านเรือมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ ท่าเรือกรณีศึกษาเท่ากับ 3.58 ขณะที่ผู้ใช้บริการด้านสินค้ารู้สึกพึงพอใจบริการที่ได้รับจากท่าเรือกรณีศึกษาเท่ากับ 3.29 และเมื่อนำเอาระดับความพึงพอใจที่ได้รับมาทำการหาค่าเฉลี่ยโดยใช้การถ่วงน้ำหนักของจำนวนแบบสอบถามที่ตอบกลับในแต่ละกลุ่มตัวอย่างพบว่าผู้ใช้บริการทั้งด้านเรือและผู้ใช้บริการด้านสินค้ามีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการโดยรวมของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบังเท่ากับ 3.36 การศึกษาครั้งนี้ยังได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อกิจกรรมการให้บริการด้านต่างๆ รวมทั้งยังได้จัดข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้บริหาร และผู้เกี่ยว ข้องสามารถนำผลการศึกษาดังกล่าวไปพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการบริการ เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ให้กลายเป็นท่าเรือระดับโลกในอนาคต
DOI
10.58837/CHULA.TRANSLOG.2008.1.5
First Page
67
Last Page
95
Recommended Citation
เทพพิทักษ์, ทวีศักดิ์
(2008)
"การยกระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความคาดหวังและการรับรู้ของลูกค้าของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง,"
Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG): Vol. 2008:
Iss.
1, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.TRANSLOG.2008.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/translog/vol2008/iss1/6