Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)
Publication Date
2024-01-01
Abstract
แม่นํ้าโขงนับเป็นแม่น้ำนานาชาติที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอนุภูมิ-ภาค ด้วยเป็นแม่นํ้าที่ไหลผ่าน 6 ประเทศได้แก่ จีน เมียนม่าร์ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามก่อน ออกสู่ทะเลจีนใต้ การสำรวจแม่นํ้าโขงมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ประกอบกับนโยบายทางการเมืองใน การเปิดตลาดของกลุ่มประเทศเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาร่วมกันเพื่อใช้เส้นทางแม่น้ำโขงเป็น เส้นทางในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ได้แก่ จีน เมียนม่าร์ ไทย และลาว ในการเดินเรือพาณิชย์เสรีในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง การเปิดท่าเรือตาม แนวแม่น้ำโขง 14 แห่งเพื่อรองรับปริมาณขนถ่ายสินค้าที่จะมีมากขึ้นในอนาคต แต่ด้วยการขนส่งทาง แม่น้ำโขงประสบกับปัญหาการเดินเรือที่ต้องเสี่ยงภัยอันตรายจากเกาะ แก่ง โขดหินใต้น้ำ และกระแส น้ำที่เชี่ยวกราก และข้อจำกัดปริมาณนํ้าในฤดูแล้งที่เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็ก อันนำมาสู่การ เสนอแนวคิดจากประเทศจีนที่ต้องการให้มีการระเบิดเกาะแก่งหินใต้น้ำเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่ เกิน 200 ตันขึ้นไปสามารถเดินเรือได้ตลอดทั้งปี และการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่หลายเขื่อนกั้นแม่น้ำ โขงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้นในฤดูแล้ง อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักที่ควรเกิดขึ้นจากความ ร่วมมือในการพัฒนาเส้นทางการขนส่งสินค้าทางแม่น้ำโขงคือ การได้รับผลประโยชน์ร่วมกันในการ ใช้เส้นทางแม่น้ำโขงอย่างเท่าเทียมกัน
DOI
10.58837/CHULA.TRANSLOG.2004.1.4
First Page
45
Last Page
66
Recommended Citation
เจริญปัญญายิ่ง, สุนันทา
(2024)
"ท่าเรือบนริมฝั่งแม่นํ้าโขงกับการใช้เส้นทางแม่นํ้าโขงในการขนส่งสินค้า,"
Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG): Vol. 2004:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.TRANSLOG.2004.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/translog/vol2004/iss1/5