•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

"ข้าวฟ่างต่างพันธุกันมักจะมีปริมาณโปรตีนและกรดอะมิโนแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะ ขาดกรดอะมิโนหลายชนิด เช่น ไลซีน ฮิสทิดีน อาร์จินีน ลูซีน แวลีน และพวกที่ประกอบ ด้วยซัลเฟอร์ แม้จะใช้ร่วมกับกากถั่วเหลือง เป็นอาหารเลี้ยงไก่แล้วก็ตามก็ยังมีปัญหาขาด แคลนแมทธิโอนีน การทดลองในครั้งนี้ได้มีการเสริมกรดอะมิโนสังเคราะห์ (Frozen dried ES4) ซึ่งมีกรดอะมิโน 18 ชนิด โดยเสริมลงในอาหารไก่กระทงที่ประกอบด้วย ข้าวฟ่างพันธุ์ เฮกเกอรี่ และอาหารที่ประกอบด้วยข้าวฟ่างพันธุ์ IS58719 ในระดับ 43 เปอร์ เซนต์ ระยะ 6 สัปดาห์แรก และ 56 เปอร์เซนต์ใน 4 สัปดาห์หลัง เปรียบเทียบกับ อาหารที่มีข้าวโพดเป็นหลัก ไก่ทดลองที่ใช้คือไก่เนื้อพันธุ์ชัยบาร์ตคละเพศ อายุ 1 วัน แบ่ง โดยวิธีสุ่มเลือกเป็น 6 พวก (treatment) พวกละ 3 หน่วย (experimental unit) ที่ 1 ให้กินอาหารที่ประกอบด้วยข้าวโพดเป็นหลัก พวกที่ 2 ให้กินอาหารสูตรเดียวกันกับ พวกที่ 1 แต่เสริมกรดอะมิโนใน 4 สัปดาห์แรก พวกที่ 3 ให้กินอาหารที่ประกอบด้วยข้าวฟ่างพันธุ์ เฮกเกอรี่ พวกที่ 4 ให้กินอาหารสูตรเดียวกันกับพวกที่ 3 และเสริมกรดอะมิโนใน 4 สัปดาห์แรก พวกที่ 5 ให้กินอาหารที่ประกอบด้วยข้าวฟ่างพันธุ์ IS8719 และพวกที่ 6 ให้กินอาหารสูตรเดียวกันกับพวกที่ 5 โดยเสริมกรดอะมิโนใน 4 สัปดาห์แรก ผลการทดลองพบว่าไก่ชอบกินอาหารที่ประกอบด้วยข้าวฟ่างพันธุ์ IS8719เช่นเดียวกับการใช้ข้าวโพด และกินได้มากกว่าอาหารที่ประกอบด้วยข้าวฟ่างพันธุ์ เฮกเกอรี่ ส่วนการเติมกรดอะมิโนสงเคราะห์ในอาหารทุกสูตร ไม่ทำให้อาหารน่ากินยิ่งขึ้นเลย ในด้าน การเจริญเติบโตของไก่ปรากฏว่าอาหารที่ประกอบด้วยข้าวฟ่างทั้งสองพันธุ์ให้ผลทัดเทียมกับ การเติมกรดอะมิโน 18 ชนิดไม่ช่วยให้ไก่เจริญเติบโตดีขึ้น ในแง่การ เปลี่ยนอาหาร ในการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (feed conversion) พบว่า อาหารข้าว ฟางพันธุ์ เฮกเกอรี่ให้ผลดีกว่าพันธุ์ ไอเอส 8719 และอาหารข้าวโพด การเติมกรดอะ มิโนไม่ช่วยให้คุณค่าทางอาหารดีขึ้น ในด้านราคาอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ตลอดการทดลอง การใช้ข้าวฟ่างพันธุ์ เฮกเกอรี่ทำให้ราคาอาหารถูกกว่าการใช้ข้าวฟ่างไอเอส 8719 และ การใช้ข้าวโพเล็กน้อย" In a trial with 6 groups of 3 experimental units of 504 Hubbard chickens from day-old to 10 weeks of age, two varieties of grain sorghum, Hegari and IS 8719, were used at the level of 43% in starting ration and 57% in finishing ration to compare with corn diet consisting of 33% and 50% corn in starting and finishing periods respectively. Addition of Frozen-Dried-ES 4, a commercial amino acid mixture, to improve protein quality of each diet did not show any superior results as compared to those without supplementation. Growth rate of birds was not significantly different among the groups. However, birds fed corn and IS 8719 diets consumed more feed than Hegari containing diet groups and the latter groups with or without Frozen Dried ES4 showed better feed conversion than others and made profitable gain.

DOI

10.56808/2985-1130.3376

First Page

688

Last Page

702

Share

COinS