•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ทำการศึกษาความชุกของการเกิดภาวะโลหิตจางที่มีผลมาจากภูมิคุ้มกันในสุนัขในประเทศไทยโดยทำการศึกษาย้อนหลังจากค่าโลหิตวิทยาของสุนัขซึ่งมีประวัติแสดงอาการโลหิตจาง และมีค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ต่ำกว่าร้อยละ 29 ที่เข้ามารับการรักษา ณ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลินิกและโรงพยาบาล สัตว์เอกชน ในระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงกันยายน 2541 จำนวน 55 ตัวและทําการศึกษาไปข้างหน้า ในสุนัขที่สงสัย ภาวะโลหิตจางเนื่องจากภูมิคุ้มกันในระหว่างเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม 2541 จำนวน 13 ตัว ผลการศึกษาพบว่าความ ชุกของการเกิดภาวะโลหิตจางที่มีผลมาจากภูมิคุ้มกันในสุนัขกลุ่มที่ 1 เท่ากับ 5.45% เนื่องจากตรวจพบเซลล์เม็ดเลือด Spherocyteและพบการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงในน้ำเกลือ พันธุ์สุนัขที่ตรวจพบว่ามีภาวะโลหิตจางมากที่สุด คือพันธุ์ผสม 70.90% (40/55) โดยมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1.6:1 ช่วงอายุที่พบมากในสุนัขกลุ่มนี้คือ ระหว่าง 2-8 ปี พบ 30.19% (17/55) ส่วนในกลุ่มที่ 2 ทำการศึกษาไปข้างหน้า พบว่าความชุกของการเกิดภาวะโลหิต จางที่มีผลมาจากภูมิคุ้มกันในสุนัขที่ให้ผลบวกต่อการทดสอบด้วยวิธีปาเป็น 76.92% (10/13) พันธุ์ที่พบมากที่สุดคือ สุนัขพันธุ์ผสม 50% (5/10) โดยมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1.5.1 สำหรับช่วงอายุที่พบมากในสุนัขกลุ่มนี้คือ 2-8 ปี พบ 80% (8/10) อาการทางคลินิกพบว่า สุนัขทั้งหมด ซึม เบื่ออาหาร เยื่อเมือกซีด อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ อ่อนแรง 80% (8/10) ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 80% (6/10) อาเจียน 50% (5/10) มีไข้ 40% (4/10) และหายใจเร็ว 40% (4/10) เมื่อนำสุนัขในกลุ่มที่ 2 นี้จำนวน 5 ตัวมาทำการทดสอบด้วยวิธีคูม ได้ผลบวกจำนวน 2 ตัวบ่งชี้ถึงการเกิดภาวะโลหิตจางเนื่องจากภูมิคุ้มกันในสุนัข

DOI

10.56808/2985-1130.1805

First Page

55

Last Page

70

Share

COinS