•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อนำวิธีการปฏิสนธินอกร่างกายมาทดสอบความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อ สุกรนำน้ำเชื้อที่รีดจากพ่อสุกรพันธุ์ดูร็อค ลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ที่ใช้อยู่ในฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์ จำนวน สายพันธุ์ละ 3 ตัว มาปฏิสนธิกับโอโอไซต์ที่เก็บมาจากรังไข่ของสุกรสาวและนำมาเลี้ยงไว้เพื่อให้พร้อมปฏิสนธิ โดยเลี้ยงรวมกันนาน 18 ชม. ที่อุณหภูมิ 39 °C ในบรรยากาศ 5% คาร์บอนไดออกไซด์ แล้วนำตัวอ่อนที่ได้ไป เลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนชนิดที่ซีเอ็ม 199 ผสมกับ 20% ฟิตัล คาล์ฟ ซีรั่ม นาน 5 วัน เพื่อตรวจดูการแบ่ง ตัวของตัวอ่อน จากการศึกษาพบว่าพ่อพันธุ์สุกรแต่ละตัวในแต่ละพันธุ์ มีอัตราความสำเร็จในการปฏิสนธิ คือ อัตราการแบ่งตัวและอัตราการพัฒนาของตัวอ่อนเป็นระยะมอรูล่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001 และ P<0.05 ตามลำดับ) ในกรณีที่ไม่พบความแตกต่างของอัตราการแบ่งตัวในระยะแรกระหว่างพ่อสุกรแต่ละตัว อัตราการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะมอรูล่าใช้แยกความแตกต่างของคุณภาพน้ำเชื้อได้ ผลการทดลองนี้สรุปได้ว่าสามารถประยุกต์เทคนิคการปฏิสนธินอกร่างกายมาใช้เพื่อทดสอบความสามารถในการปฏิสนธิของพ่อสุกรพันธุ์ได้

DOI

10.56808/2985-1130.1803

First Page

31

Last Page

40

Share

COinS