The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
เต้านมอักเสบในโคเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การตอบสนองของภูมิคุ้มกันเป็นขบวนการในการป้องกันตนเองที่สำคัญต่อการรุกรานของจุลินทรีย์ที่เข้ามา ในเต้านม โดยทั่วไปกลไกการป้องกันตนเองของเต้านม ประกอบด้วย ลักษณะทางกายวิภาคของเต้านม ระบบภูมิคุ้ม กันชนิดเซลล์ และระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่เกี่ยวข้องกับเซลล์โดยตรง ลักษณะรูหัวนม และการรีดนมออกเป็นขบวนการ ป้องกันที่สามารถลดการติดเชื้อที่เต้านม เซลล์แมคโครเฟจ และ นิวโทรฟิลล์สามารถเก็บกินเชื้อที่ก่อโรคในเต้านม นอกจากนั้น ในระบบภูมิคุ้มกันเซลล์แมคโครเฟจยังสามารถหลั่งสารสื่ออักเสบ และ ถ่ายทอดสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ แอนติเจนให้กับเซลล์อื่นๆ ลิมโฟไซด์ ทั้ง บีเซลล์ และ ทีเซลล์ มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันในเต้านมเช่นเดียว กัน ระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่เกี่ยวข้องกับเซลล์โดยตรง ได้แก่ แอนติบอดี แลคโตเฟอริน ไลโซไซม์ ระบบคอมพลิเมนท์ และระบบเอนไซม์แลคโตเปอร์ออกซิเดส/ไธโอไซยาเนท/ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น ระบบป้องกันตนเองของเต้า นมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ในช่วงแรกหลังระยะพักนม และในช่วงคลอดที่มีการกดของระบบภูมิคุ้มกัน ในช่วงเหล่า นี้จึงเป็นช่วงที่มีความไวต่อการติดเชื้อเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันการป้องกันเต้านมอักเสบยังไม่มีวิธีใดที่สามารถลดปัญหา นี้ได้ การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในเต้านม เช่น โดยการใช้วัคซีน ไซโตคีนส์ โสม หรือ กลูแคน อาจลดปัญหาเหล่านี้
First Page
13
Last Page
29
Recommended Citation
Inchaisri, Chaidate
(1999)
"Defence Mechanisms and the Modulation of Immune Responses in the Bovine Udder,"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 29:
Iss.
4, Article 2.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1802
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol29/iss4/2