•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการชะล้างมดลูกด้วยน้ําเกลือผสมยาปฏิชีวนะอ๊อกซี่เตตร้า ซัยคลิน และผลต่ออัตราการผสมติดหลังการรักษาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าในฟาร์มโคนมรายย่อย โคนมผสมซ้ำที่ได้รับการรักษาโดยวิธีนี้ สามารถติดตั้งท้องภายหลังการผสมเทียมแล้ว 3 ครั้งมากกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กล่าวคือ โคกลุ่มรักษา จำนวน 39 ตัว ตั้งท้อง 22 ตัว (56.4%) และโคกลุ่มควบคุม จำนวน 39 ตัว ตั้งท้อง 12 ตัว (30.8%) ผลการทดลองแก้ไขการผสมซ้ำใน ฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ พบว่าให้ผลการรักษาได้ดี กล่าวคือในโคนมที่มีปัญหาผสมซ้ำ 12 ใน 19 ตัว (63.2%) พบว่าตั้งท้องภายหลังการรักษาแล้วเฉลี่ย 47 วัน (พิสัย 5-157 วัน) โดย 6 ตัว ติดตั้งท้องจากการผสมครั้งแรก การตรวจแยกเชื้อในมดลูกโคผสมซ้ำ 59 ตัวพบเชื้อแบคทีเรียในโค 48 ตัว (81.4 %) จำนวน 56 strains ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่ไม่ทำให้เกิดโรค (non-pathogenic) และไม่น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาการ ผสมซ้ำในโคนม ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่าการรักษาโคนมที่มีปัญหาผสมซ้ำโดยวิธีการชะล้างมดลูก ด้วยน้ำเกลือผสมยาปฏิชีวนะ สามารถแก้ไขให้โคนั้นติดตั้งท้องได้ดีในระยะเวลาสั้นภายหลังที่ได้รับการผสมเทียม และควรอบรมและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่และนายสัตวแพทย์นำวิธีการนี้ไปปฏิบัติภาคสนาม

DOI

10.56808/2985-1130.1776

First Page

33

Last Page

43

Share

COinS