•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

การทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการแช่แข็งตัวอ่อนกระบือปลักไทย ที่เก็บจากแม่กระบือ ปลักพันธุ์ดีที่ถูกคัดออกจากฝูง โดยทําการแช่แข็งตัวอ่อนกระบือปลักจำนวน 29 ตัวอ่อน ด้วยวิธีมาตรฐาน ใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 0.5°c ต่อนาที จากอุณหภูมิ -6.5°c ถึง -30 °c ก่อนนำลงแช่ในไนโตรเจนเหลว น้ํายา แช่แข็งตัวอ่อนที่ประกอบด้วย 10% (v/v) กลีเซอรอล + 0.1 M ซูโครส ในสารละลาย Dulbecco's modified phosphate buffered saline (D-PBS) หลังเก็บไว้นานประมาณ 1 ปี ละลายตัวอ่อนและดึงสารป้องกันการเกิด ผลึกน้ำแข็งออกจากตัวอ่อนแบบ 3 ขั้นตอนในน้ำยาสำหรับละลายตัวอ่อน โดยค่อย ๆ ลดความเข้มข้นของ กลีเซอรอลจาก 5% (v/v) ไปยัง 2.5% และ 0% ตามลำดับ อย่างละ 5 นาที พบว่ามีตัวอ่อนกระบือ จำนวน 25 ตัวอ่อน (86.2%, 25/29) ที่มีคุณภาพและลักษณะสามารถนำไปใช้ย้ายฝากได้ แบ่งเป็นระยะมอรูล่า 15 ตัวอ่อน (83.3%, 15/18) มอรูล่าระยะรวมตัวแน่น (compact morula) จำนวน 4 ตัวอ่อน (100%, 4/4) เป็นตัวอ่อน ระยะบลาสโตซีสระยะแรก (early blastocyst) 2 ตัวอ่อน (100%, 2/2) และ ระยะบลาสโตซิส (blastocyst) 4 ตัวอ่อน (100%, 4/4) ย้ายฝากตัวอ่อนจำนวน 21 ตัวอ่อนให้กระบือตัวรับ 10 ตัว ตัวรับตั้งท้อง 1 ตัว (10%, 1/10) จากผลการศึกษานี้ แสดงว่าตัวอ่อนกระบือปลักไทยที่เก็บจากแม่กระบือปลักพันธุ์ดีที่ถูกคัดออกจากฝูง อันเนื่องมาจากมีอายุมาก สามารถนำมาแช่แข็งด้วยวิธีมาตรฐานได้

DOI

10.56808/2985-1130.1767

First Page

39

Last Page

48

Share

COinS