•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ทำการศึกษาในแมว 28 ราย ที่เข้ามารับการรักษา ณ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม 2540 และได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นจาก สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลว่าเป็นโรคติดเชื้ออย่างเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และ/หรือ ระบบขับถ่ายปัสสาวะเกินกว่า 2 สัปดาห์ ตรวจพบหลักฐานการปรากฏแอนติบอดี้บ่งชี้การติด เชื้อโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว (FIV) 32.0% พบการติดเชื้อในแมวเพศผู้ (77.8%) มากกว่าแมวเพศเมีย (22.2%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) อายุเฉลี่ยของแมวที่ติดเชื้อเท่ากับ 5.44 ± 2.51 ปี โดยพบ มากที่สุดในแมวที่มีช่วงอายุ 5-7 ปี (55.6%) รองลงมาคือช่วงอายุน้อยกว่า 4 ปี (22.2%) และช่วงอายุมากกว่า 7 ปี (22.2%) เมื่อพิจารณาตามลักษณะของที่อยู่อาศัย พบว่าเป็นในแมวที่เลี้ยงในตึกแถวมาก ที่สุด(77.8%)รองลงมาจะพบในแมวที่เลี้ยงในบ้านเดี่ยว (11.1%) และห้องเช่า (11.1%) จากการตรวจพบ แอนติบอดี้บ่งชี้การติดเชื้อในแมวที่แสดงอาการของการติดเชื้อที่ระบบขับถ่ายปัสสาวะเรื้อรังมากที่สุด (55.6%) ระบบทางเดินอาหาร (22.2%) ระบบทางเดินหายใจร่วมกับทางเดินอาหาร (11.1%) ระบบทางเดินอาหารร่วม กับระบบปัสสาวะ (11.1%) และพบว่าแมวที่กินอาหารเจ้าของปรุงให้เอง (88.9%) มีการติดเชื้อมากกว่าใน แมวที่กินอาหารสำเร็จรูป (11.1%) นอกจากนี้พบการติดเชื้อสูงในแมวที่เลี้ยงแบบปล่อย (100%) และเป็น แมวไม่เคยได้รับวัคซีนใด ๆ (88.9%) สำหรับค่าทางโลหิตวิทยาในแมวที่มีการติดเชื้อ FIV นั้น พบว่ามีค่า ทางโลหิตวิทยาอยู่ในช่วงปกติ ค่าเคมีคลินิกเปลี่ยนแปลงตามอาการทางคลินิกของโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้น

DOI

10.56808/2985-1130.1760

First Page

77

Last Page

88

Share

COinS