The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
จากการชันสูตรซากสุกรขุน 12 ตัว อายุ 3-4 เดือน น้ำหนัก 30-50 กิโลกรัม อัตราป่วย 30 % อัตราตาย 5-12 % จากฝูง 3,000 ตัว มีอาการหายใจกระแทกแรงและถี่ นอนหมอบ บางตัวดีซ่าน ไม่ตอบสนองต่อการ รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ มีพยาธิสภาพคือ เยื่อเมือกซีดเหลือง ปอดอักเสบบวมน้ำ เยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้ม หัวใจอักเสบมีไฟบรินปกคลุมหนา ตับซีด และมีน้ำในช่องอก ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา พบการ เปลี่ยนแปลงของตับ ประกอบด้วย single cell necrosis (4/12 ตัว) angular degenerating hepatocytes (12/12 ตัว) mild vacuolation (8/12 ตัว) binucleated hepatocytes (12/12 ตัว) multinucleated hepatocytes (5/12 ตัว) hepatomegalocytosis (11/12 ตัว) centrilobular depletion (4/12 ตัว) perilobular fibrosis (5/12 ตัว) และ disorganized hepatic cord (9/12 ตัว) ที่ตับอ่อน พบ pancreatic acinar cell degeneration (7/12 ตัว) และที่ปอด พบ pulmonary edema ลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ interlobular edema (8/12 ตัว) alveolar edema (11/12 ตัว) interstitial edema (5/12 ตัว) ร่วมกับ pneumonia (11/12 ตัว) ผลการตรวจวิเคราะห์หาสารพิษจากเชื้อรา ของตัวอย่างอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรชุดนี้ โดยวิธีอีไลซ่าพบ Total fumonisin ในปริมาณ 0.3 - 5.2 ppm และ Total aflatoxin ในปริมาณ 19.1 - 60.5 ppb ผลการแยกเชื้อพบ E.coli และ Salmonella group B แต่ไม่พบเชื้อ ไวรัสที่สำคัญที่ทําให้เกิดโรคในสุกรเช่น SFV, ADV และ PRRSV ผลการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาที่เด่น ชัดของ ตับ ตับอ่อน และปอด ร่วมกับการตรวจพบ fumonisin ในอาหาร บ่งชี้ว่ารอยโรคที่ตรวจพบอาจมี สาเหตุหลักประการหนึ่งเนื่องจากความเป็นพิษของ fumonisin โดยมี aflatoxin และการติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อนเป็นสาเหตุร่วม รายงานนี้เป็นรายงานแรกในประเทศไทย ที่กล่าวถึงพยาธิสภาพของสุกร ที่มีการ เกี่ยวข้องกับ การเป็นพิษของ fumonisin ของฝูงสุกร
DOI
10.56808/2985-1130.1750
First Page
71
Last Page
82
Recommended Citation
ปัจฉิมะศิริ, ตวงทอง; ไศละสูต, อัจฉริยา; and กอธีระกุล, คัมภีร์
(1998)
"พยาธิสภาพของสุกรปวยในฝูงที่ตรวจพบ Fumonisin ปนเปื้อนในอาหาร,"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 28:
Iss.
2, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1750
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol28/iss2/6