•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

เก็บโอโอไซต์จากรังไข่ของลูกโคพื้นเมืองอายุ 4-6 เดือน ที่กระตุ้นด้วยฟอลลิเคิล สติมูเรตติ้ง ฮอร์โมน (เอฟ เอส เอช) แบ่งโอโอไซต์ออกได้เป็น 2 ชนิด คือโอโอไซต์ที่เจริญพร้อมปฏิสนธิ (mature oocyte) และ โอโอไซต์ที่เจริญไม่พร้อมปฏิสนธิ (immature oocyte) นำไปเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธิใน น้ำยาเพาะเลี้ยงชนิด TCM-199 ที่ประกอบด้วย FSH/LH (10 ug/ml), Estradiol-17 (1 ug/ml) และ 10% FCS โดยเลี้ยงร่วมกับเซลล์กรานูโลซานาน 4 ชม. สำหรับโอโอไซต์ชนิด mature และ 24 ชม. สำหรับโอโอไซต์ชนิด immature จากการสุ่มตัวอย่างโอโอไซต์ทั้ง 2 ชนิดมาตรวจดูสภาวะพร้อมปฏิสนธิ พบว่ามีอัตราการเกิดระยะ เมตาเฟส II เฉลี่ยเท่ากับ 73.6% (67/91) ซึ่งโอโอไซต์ทั้ง 2 ชนิด มีอัตราการเกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธิ ไม่แตกต่างกัน (73.6% และ 73.5%) ตามลำดับ นำโอโอไซต์ส่วนที่เหลือไปปฏิสนธินอกร่างกายกับตัวอสุจิที่ ผ่านกระบวนการคาร์ปาซิเตชั่น จากนั้นเลี้ยงตัวอ่อนที่ได้ในน้ำยาเพาะเลี้ยงชนิด B ที่เติม 10% FCS ที่อุณหภูมิ 39° ซ และ 5% คาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ โดยเลี้ยงร่วมกับเซลล์ท่อนำไข่โค พบว่าได้อัตราการแบ่ง ตัวเฉลี่ยเท่ากับ 32.9%(114/346) ที่ 48 ชม. โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างโอโอไซต์ชนิด mature และ โอโอไซต์ชนิด immature เฉลี่ยเท่ากับ 35.4% และ 32.2% ตามลำดับ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โอโอไซต์ที่ได้จากลูกโคสามารถเกิดการปฏิสนธินอกร่างกายและเจริญเป็นตัวอ่อนได้หลังการผสม 48 ชม.

DOI

10.56808/2985-1130.1747

First Page

39

Last Page

46

Share

COinS