•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

จำนวนโครโมโซมของสัตว์ป่าบางชนิดที่พบในประเทศไทยได้ถูกประมวลไว้ ในสัตว์ตระกูลแมว-เสือ (Family Felidae) ทั้งสกุล Felis และสกุล Panthera พบว่ามีจำนวนโครโมโซมเท่ากันหมด คือ 38 ตัว เช่น เดียวกับในแมวบ้าน ในทางตรงกันข้าม ในสัตว์ตระกูลกวาง (Family Cervidae) พบความแตกต่างของ จำนวนและรูปแบบของโครโมโซมค่อนข้างมาก จากจำนวน 6-7 ตัวในเก๋งธรรมดา (M. muntjac) และ 13-14 ตัวในเก้งหม้อ (M. feae) จนถึง 58 ตัวในละมั่ง (C. eldi) และ 68 ตัวในเนื้อทราย (C. porcinus) ในสัตว์ป่า ตระกูลจระเข้ (Family Crocodylidae) แม้ว่าจำนวนโครโมโซมของจระเข้พันธุ์น้ำจืดซึ่งมี 30 ตัว จะไม่ เท่ากับพันธุ์น้ำเค็มซึ่งมี 34 ตัว ลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ก็ไม่เป็นหมัน แต่มีจำนวนโครโมโซมแตก ต่างกัน คือ 31 ตัว 32 ตัวและ 33 ตัวขึ้นกับชนิดการผสมพันธุ์ จากผลของรายงานดังกล่าว การค้นคว้าในทางลึก เช่น ด้านอณูพันธุศาสตร์และพันธุกรรมการสืบพันธุ์ การสำรวจเพิ่มเติมและการนำมาประยุกต์ในการเลี้ยงจริง น่าจะได้มีการศึกษากันต่อไป เพื่อจะได้ทราบขบวนการที่เกิดขึ้นจริง และเพื่อกำหนดทิศทางที่ถูกต้องในการ รักษาพันธุกรรมเดิมไว้ประการหนึ่งและในการเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจอีกประการหนึ่ง

DOI

10.56808/2985-1130.1746

First Page

13

Last Page

36

Share

COinS