•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ทำการกระตุ้นรังไข่ลูกโคพื้นเมืองไทยอายุ 4-6 เดือน จำนวน 10 ตัว ด้วยฮอร์โมน เอฟ เอส เอช ขนาด 192 มก. (NIH-FSH-P1) โดยฉีดเข้ากล้ามทุก 12 ชม. ติดต่อกัน 4 วัน (32/32,24/24,24/24,16/16) ในวัน สุดท้ายของการฉีดกระตุ้น ฉีดฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิก โกนาโดโทรปิน (เอช ซี จี) ขนาด 500 ไอยู 24 ชม. ต่อมาดูดเก็บโอโอไซต์ด้วยการเปิดผ่าช่องท้องหลังทําให้ลูกโคสลบด้วยไทโอเพนโตน โซเดียม จากนั้นทำการทดลองฉีดฮอร์โมนกระตุ้นซ้ำ ครั้งที่ 2, 3 และ 4 ห่างกันครั้งละ 6-8 สัปดาห์ แบ่งโอโอไซต์ออกเป็น 2 ชนิดคือ โอโอไซต์ที่เจริญพร้อมปฏิสนธิและโอโอไซต์ที่เจริญไม่พร้อมปฏิสนธิ จากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของการ ตอบสนองของรังไข่จากการฉีดกระตุ้นซ้ำ 4 ครั้งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 32.2±3.0 ใบ/ครั้ง/ตัว และมีแนวโน้มลดลง จากการกระตุ้นครั้งแรกจนถึงครั้งที่ 4 (P<0.05) เท่ากับ 46.1±8.8, 28.6±3.6, 26.4±3.5 และ 27.7±5.1ใบ/ครั้ง/ตัว ตามลำดับ จำนวนโอโอไซต์ที่เก็บได้ทั้งหมด เท่ากับ 704 ใบจาก 1,274 ฟอลลิเคิล เฉลี่ย 17.6+1.8 ใบ/ครั้ง/ตัว คิดเป็นอัตราการเก็บโอโอไซต์ เท่ากับ 55.2% โดยมีแนวโน้มลดลงจากการเก็บครั้งแรกจนถึงครั้งที่ 4 (P<0.05) 23±5.0, 16.8±3.0, 15.2±1.5 15.4±3.6 ใบ/ครั้ง/ตัว ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงว่าสามารถฉีดกระตุ้นรังไข่ ลูกโคพื้นเมืองไทยก่อนวัยเจริญพันธุ์ได้ด้วยฮอร์โมนโกนาโดโทรปินได้หลายครั้ง ทั้งสามารถเก็บโอโอไซต์ได้ผลดีโดยวิธีการเปิดผ่าช่องท้อง

DOI

10.56808/2985-1130.1741

First Page

59

Last Page

69

Share

COinS