The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
โรคสมองฟ้ามหรือโคบ้า (Bovine Spongiform Encephalopathy, BSE) เป็นโรคระบาดร้ายแรงที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรเป็น ส่วนใหญ่ ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล จำเป็นต้องทําลายโคถึง 1 ล้านตัวเพื่อกำจัด BSE ให้หมดไป ยิ่งไปกว่านั้น BSE อาจ เป็นอันตรายแก่สุขภาพและชีวิตมนุษย์ด้วย BSE เป็นโรคหนึ่งในกลุ่ม transmissible spongiform encephalopathies (TSEs) โดยมี prion protein เป็นสารก่อโรคที่ทําความเสียหายแก่ระบบประสาท และทำให้คนหรือสัตว์ตายในที่สุด พบเนื้อสมองทั้งส่วน cerebrum และ cerebellum เป็นรูพรุน และอาจพบ plaques และ scrapie-associated fibrils (SAF) ในเนื้อสมองด้วย การศึกษาทางระบาดวิทยาชี้แนะว่าการแพร่ของ BSE เกิดจากโคกินอาหารที่มีสารก่อโรคปนเปื้อนอยู่ และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมาะสมในกระบวนการแปรรูปโปรตีนจากซากสัตว์ เพื่อใช้เป็น อาหารเลี้ยงโคก็ช่วยเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการกระจายโรค BSE ด้วย prion protein อาจสะสมอยู่ในเลือด เส้นประสาทหรือระบบน้ำเหลืองของโคที่ เป็น BSE ก่อนที่จะกระจายไปสู่ระบบประสาทส่วนกลาง แต่เดิมพบเฉพาะสมอง ไขสันหลังและจอตาเท่านั้นที่ก่อให้เกิดโรค BSE ได้ ขณะนี้ กำลังรอผลที่ Spongiform Encephalopathy Advisory Committee (SEAC) ดำเนินการให้ตรวจเนื้อ น้ำนม อวัยวะระบบน้ำเหลืองจาก โคที่เป็น BSE โดยใช้ลูกโคเป็นสัตว์ทดลอง ซึ่งมีความไวกว่าการฉีดสารก่อโรคเข้าหนู mice ถึง 1,000 เท่า รายงานนี้ได้รวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ระบาดวิทยา มาตรการควบคุมกำจัดและป้องกันโรค BSE และวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งแนวความคิดในการรักษา TSES ในอนาคตไว้ด้วย Creutzfeldt-Jakob's Disease (CJD) เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทในคนและเป็นโรคหนึ่งในกลุ่ม TSEs พบว่า new variant CJD (nvCJD) มีรอยโรคและอาการเฉพาะต่างไปจาก CJD เมื่อใช้เทคนิค Western blot สรุปได้ว่า nvCJD คล้ายกับ BSE แต่ต่างจาก sporadic เป็นไปได้มากว่า nvCJD เกิดขึ้นจากการที่ผู้ป่วยเคยได้รับสารก่อโรค BSE การปลูกถ่ายอวัยวะ เยื่อหุ้มสมอง กระจกตา หรือการใช้ เครื่องมือผ่าตัดเกี่ยวกับระบบประสาทที่มี Scrapie prionprotein (PrPsc) ปนเปื้อน ก็ทำให้เกิดการถ่ายทอด CID ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน กลุ่มคนที่มี homozygous gene ที่ codon 129 นอกจากนี้ยังพบมีผู้ป่วยเป็น CJD 90 ราย (1985-1996) ที่มีประวัติเคยได้รับ growth hormone และ 54 ราย (1989-1993) ที่เคยได้รับการรักษาด้วย gonadotropin ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อต้นปี 1997 องค์การอนามัยโลกได้สรุปว่าพบสารก่อโรค CJD ใน plasma ของหนู mice จากหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ จึงควรระมัดระวังการรับถ่ายเลือดและการรับบริจาคอวัยวะจากกลุ่มคนที่มี ประวัติญาติพี่น้องที่มีอาการทางประสาท รวมทั้งจากกลุ่มคนที่เคยได้รับ human-derived growth hormone และ gonadotropin ด้วย
DOI
10.56808/2985-1130.1740
First Page
17
Last Page
55
Recommended Citation
จันทร์ประทีป, พีระศักดิ์; กาญจนะพังคะ, สุมลยา; ตันติเจริญยศ, ประโยชน์; ตันศฤงฆาร, กัลยาณี; and รุ่งพิทักษ์ไชย, เบญจภรณ์
(1998)
"ความเป็นมาและสถานภาพปัจจุบันของโรคสมองฟ่ามในโค (โคบ้า),"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 28:
Iss.
1, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1740
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol28/iss1/7