•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

สำรวจค่านิยมในการดื่มนมพร้อมดื่มจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 13 เขตเลือกตั้ง จำนวน 1,427 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.6 และเพศหญิงร้อยละ 52.4 ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2538 โดยนิสิตสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 73 คน การวิเคราะห์ข้อมูลตั้งอยู่บนฐานร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามในหัวข้อนั้น ๆ โดยใช้โปรแกรม SPSSPC ผลการสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 90.2 นิยมดื่มผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม ใน จำนวนนี้ร้อยละ 45.6 นิยมดื่มนมสดพร้อมดื่มที่ผลิตด้วยกรรมวิธียูเอชที ตามด้วยนมหมัก (นมเปรี้ยว) และนมพาสเจอร์ไรซ์ ร้อยละ 26.4 และ 21.0 ตามลำดับ ผู้บริโภคร้อยละ 39.7 ดื่มเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 21.3 และ 17.3 ดม 3-4 และ 1-2 วัน/สัปดาห์ เหตุผลที่ ผู้บริโภคเลือกดื่มเนื่องจากทราบว่าน้ํานมมีประโยชน์ต่อร่างกายร้อยละ 72.3 ตามด้วยความ สะดวกในการดื่มร้อยละ 16.5 และหาซื้อง่ายร้อยละ 4.6 ประชาชนนิยมดื่มนมพร้อมดื่ม ชนิดปรุงแต่งมากที่สุด รองลงมาเป็นนมสดรสจืด นมเปรี้ยวรสนมสด นมเปรี้ยวปรุงแต่ง และ นมพร่องมันเนย ร้อยละ 38.4, 24.9, 12.0, 11.9 และ 11.1 ตามลำดับ ผู้บริโภคนิยมไปซื้อที่ห้างสรรพสินค้าพอ ๆ กับร้านค้าปลีกคือร้อยละ 34.3 กับ 33.4 สำหรับหลักเกณฑ์ในการเลือก เครื่องหมายการค้าที่จะซื้อนั้น พิจารณาจากวันหมดอายุเป็นเกณฑ์ ตามด้วยรสชาติ และความ น่าเชื่อถือของบริษัทที่ผลิตร้อยละ 36.7, 30.6 และ 16.2 ตามลำดับ ประชาชนร้อยละ 71.1 ได้แสดงความคิดเห็นต่อราคาที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันว่าเหมาะสมดีแล้ว แต่อีกร้อยละ 24.5 ยังเห็นว่าแพงเกินไปและได้ให้ความคิดเห็นว่า ราคาที่จำหน่ายควรเป็น 5 บาทต่อหน่วย และ จากกรณีที่มีข่าวตามสื่อมวลชนเรื่องนมบูดนั้นประชาชนร้อยละ 70.1 ตอบว่าไม่มีผลต่อการ ตัดสินใจในการบริโภคนมพร้อมดื่ม และได้ให้ข้อเสนอแนะถึงแนวทางการส่งเสริมให้ผู้บริโภค หันมาดื่มนมพร้อมดื่มมากยิ่งขึ้นดังนี้คือ ควรมีการส่งเสริมการดื่มนมให้แก่เยาวชนอย่างจริงจัง ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีอายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น และควรลดราคาลงร้อยละ 45.3, 40.4 และ 33.6 ตามลำดับ

DOI

10.56808/2985-1130.1703

First Page

21

Last Page

31

Share

COinS