The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
วิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับสุกรของประเทศไทยที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2526 ถึง พ.ศ. 2538 รวม รวมทั้งหมด 399 เรื่อง ตามชนิดของปัญหา พบว่าส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพ และอาหารสัตว์ 40.8 และ 31.0% ตามลำดับ รองลงมาเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ และ การปรับปรุงพันธุ์ 11.7 และ 7.3% ตามลำดับ ขณะที่งานวิจัยด้านผลิตภัณฑ์สัตว์ การจัดการ และสภาพแวดล้อมรวมกับการตลาด มีเพียง 4.2, 3.4 และ 1.5% ตามลำดับ ส่วนประเภทของ งานวิจัย เป็นงานวิจัยทางคลินิกหรืองานวิจัยในหน่วยราชการ 37.7% งานวิจัยภาคสนาม 29.3% งานวิจัยในห้องปฏิบัติการ 26.7% และงานวิจัยเอกสารบทความปริทัศน์ 6.3% เมื่อจำแนก ตามคุณค่าของงานวิจัย เป็นงานวิจัยที่นำผลไปใช้ได้ทันที 56.4% งานวิจัยข้อมูลพื้นฐาน 36.6% งานวิจัยที่นำไปใช้ได้เมื่อปรับเล็กน้อย 5.2% และงานวิจัยประยุกต์ต้องวิจัยต่อ 1.7% ในอนาคต การวิจัยควรเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งการผสมเทียม การปฏิสนธิ ในหลอดแก้วและการย้ายฝากตัวอ่อน โดยอยู่บนพื้นฐานของการปรับปรุงพันธุ์ ปรับทิศทางการวิจัยด้านอาหารสัตว์จากการวิจัยวัสดุเหลือใช้เพื่อทดแทนในอาหารสัตว์มาเป็นการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตของวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยตรง ปัญหาสภาวะแวดล้อมต้องได้รับการศึกษาและ แก้ไขอย่างเร่งด่วน ส่วนปัญหาด้านการจัดการ การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์ตลอดจน การควบคุมและกำจัดโรคระบาดที่สำคัญ ต้องทําการศึกษาอย่างต่อเนื่องต่อไป
DOI
10.56808/2985-1130.1696
First Page
297
Last Page
305
Recommended Citation
อิ่มบุญตา, นลินี; เรี่ยวเดชะ, จันทร์จรัส; จันทรประทีป, พีระศักดิ์; and อิงคนินันท์, เปล่งสี
(1996)
"การประมวลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตสุกรของประเทศไทย (2526-2528),"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 26:
Iss.
4, Article 1.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1696
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol26/iss4/1