The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
Infection with the fluke Fasciola gigantica was detected by the ELISA and the beads techniques and used to determine the antibody titre and egg count per gram (epg) in cattle and buffalo respectively. Each group of 4 cattle and 4 buffalo were infected with 500 and 1000 metacercariae. The experiments were carried out over a period of 28 weeks with sampling taking place every 2-4 weeks. Using the ELISA test, the results revealed, that the patterns of antibody titres against F. gigantica in infected cattle and buffalo, were similar. The earliest ELISA titre detection of 500 metacercariae infected cattle was during week 4 and for 1000 metacercariae, week 2. High levels of ELISA titre were demonstrated between weeks 12-16. The buffalo infected with 1000 metacercariae, showed high ELISA titres two weeks after infection, while the earliest detection of 500 metacercariae infected animals was during week 10. The faecal egg count for the 500 metacercariae F. gigantica infected cattle and buffalo were positive between weeks 16-18 and peaked between weeks 24-26. Cattle and buffalo infected with 1000 metacercariae were found positive at week 12 and weeks 12-14 respectively. The highest egg values were noted at week 16-24 after infection. The ELISA test is proved to be a sensitive and useful technique for the early detection of F. gigantica infection in animals(นำโค 10 ตัว และกระบือ 10 ตัว มาศึกษาระดับของแอนติบอดี ไตเตอร์ต่อพยาธิใบไม้ตับด้วยวิธีอีไลซ่า และตรวจนับปริมาณไข่พยาธิในอุจจาระ 1 กรัม ด้วยวิธีบิคเทคนิค โดยสัตว์แต่ละชนิดจำนวน 8 ตัว ได้รับเชื้อและสัตว์ชนิดละ 2 ตัว เป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับเชื้อ แบ่งกลุ่มโค กระบือที่ได้รับเชื้อออกเป็นกลุ่มละ 4 ตัว เท่า ๆ กัน แล้วให้โคและกระบือแต่ละกลุ่มได้รับเชื้อจำนวน 500 และ 1,000 เมทต้าเซอร์คาเรีย ตามลำดับ จากนั้นเก็บซีรั่มและอุจจาระตรวจทุก 24 สัปดาห์ติดต่อกันนาน 28 สัปดาห์ การทดสอบหาระดับของแอนติบอดี ไตเตอร์ต่อพยาธิใบไม้ตับ ปรากฏผลในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน โคที่ได้รับเชื้อ 500 และ 1,000 เมทต้าเซอร์คาเรีย ตรวจวัดไตเตอร์ได้ในสัปดาห์ที่ 4 และ 2 และมีระดับของไตเตอร์ขึ้นสูงสุด ระหว่างสัปดาห์ที่ 12-16 ในขณะที่กระบือที่ได้รับเชื้อ 500 เมทต้าเซอร์คาเรียเริ่มตรวจพบระดับของไตเตอร์ได้ในสัปดาห์ที่ 10 และกระบือที่ได้เชื้อ 1,000 เมต้าเซอร์คาเรีย ตรวจพบไตเตอร์ในระดับที่ค่อนข้างสูงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หลังการติดเชื้อเป็นต้นไป สำหรับผลการตรวจหาและนับจำนวนไข่พยาธิจากอุจจาระนั้นให้ผลล่าช้ากว่าการตรวจหาระดับของแอนติบอดีไตเตอร์ โดยเริ่มตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระของโคและกระบือเป็นครั้งแรกในสัปดาห์ที่ 16-18 หลังจากกินเมทต้าเซอร์คาเรียเข้าไปจำนวน 500 ซิสต์ และพบในไข่พยาธิในปริมาณสูงสุดในสัปดาห์ที่ 24-28 หลังการติดเชื้อ ส่วนโคและกระบือที่กินเมทต้าเซอร์คาเรียจำนวน 1,000 ซีสต์ เริ่มตรวจพบไข่พยาธิเป็นครั้งแรกในสัปดาห์ที่ 12 และ 12-14 ตามลำดับ และจำนวนไข่พยาธิขึ้นสูง ในระหว่างสัปดาห์ที่ 16-24 ของการทดลอง ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าวิธีอีไลซ่ามีความไวสูงและมีประโยชน์ต่อการตรวจวินิจฉัย การติดพยาธิ ฟาสซิโอล่า ไกแกนติก้าในระยะเริ่มต้น)
DOI
10.56808/2985-1130.1684
First Page
85
Last Page
97
Recommended Citation
Prasitirat, Piyanoot; Thammasart, Suree; Chompoochan, Tasanee; Nithiuthai, Suwannee; and Taira, Noriyuki
(1996)
"The Dynamics of Antibody Titres and Faecal Egg Output in Cattle and Buffalo following Infection with 500 and 1000 Fasciola gigantica Metacercariae(ความผันแปรของแอนติบอดี ไตเตอร์และปริมาณไข่พยาธิใบไม้ตับ ในอุจจาระของโคและกระบือที่ได้รับเชื้อ 500 และ 1000 เมทต้าเซอร์คาเรีย),"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 26:
Iss.
1, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1684
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol26/iss1/6