The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 1,475 คน เป็นนักเรียนชายร้อยละ 49 นักเรียนหญิงร้อยละ 51 จากโรงเรียนหญิงล้วน ชายล้วน และสหศึกษาอย่างละ 3 โรงเรียน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสำรวจค่านิยมในการบริโภคนมเปรี้ยว ซึ่งออกสำรวจในเดือน กันยายน 2536 ข้อมูลทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSPC ผลการวิเคราะห์ตั้งอยู่บนฐานของจำนวนผู้ที่ตอบแบบสอบถามในข้อนั้น ๆ ผลการสำรวจพบว่านักเรียนร้อยละ 93 เคยบริโภคนมเปรี้ยว เนื่องจากชอบในรสชาติ ร้อยละ 47 แรงจูงใจในการบริโภคครั้งแรกเกิดจากความอยากลอง (ร้อยละ 66) มากกว่าที่จะเล็งเห็นคุณประโยชน์ นักเรียนส่วนใหญ่บริโภคนานๆ ครั้งแล้วแต่โอกาส และบริโภคเพียงวันละ 80-120 ซีซี กลิ่นรสที่นักเรียนนิยมบริโภคคือรสส้ม รองลงไปเป็นรสสตรอเบอรี่ รสนม และรสมะนาว ในการเลือกซื้อนมเปรี้ยวนักเรียนร้อยละ 85 พิจารณาวันหมดอายุก่อนซื้อ เครื่องหมายการค้าที่นักเรียนนิยมซื้อบริโภคเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ โยโมสต์ ยาคูลท์ และดัชมิลล์ เหตุผลที่เลือกเนื่องจากความสะดวกในการบริโภคซึ่งรวมถึงการหาซื้อง่ายสำหรับราคา นักเรียนร้อยละ 26 ยังเห็นว่าแพงเกินไป นักเรียนมากกว่าร้อยละ 50 ไม่ทราบถึงคุณประโยชน์แท้จริงของนมเปรี้ยว แต่นักเรียนเลือกบริโภคนมเปรี้ยวชนิดมีเชื้อมากกว่าไม่มี เชื้อถึงร้อยละ 65.4 โดยเลือกบริโภคนมเปรี้ยวพร้อมดื่มมากที่สุด รองลงมาเป็นนมเปรี้ยว เข้มข้นหรือโยเกิร์ต และนมเปรี้ยว ยู เอช ที นักเรียนให้ความเห็นว่า กลิ่นรสเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ประชาชนไม่นิยมบริโภคนมเปรี้ยว และการชักจูงผู้ที่ไม่บริโภคนมเปรี้ยวให้หันมาบริโภคนมเปรี้ยว ควรใช้วิธีการให้ความรู้ร่วมกับการแจกให้ทดลองบริโภค นอกจากนี้ยังได้ ทำการวิเคราะห์ค่านิยมในการบริโภคนมเปรี้ยวแต่ละประเภทไว้ด้วย
DOI
10.56808/2985-1130.1633
First Page
109
Last Page
117
Recommended Citation
กิจภากรณ์, สุวรรณา
(1994)
"ค่านิยมในการบริโภคนมเปรี้ยว ตอนที่ 2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4-ม.6),"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 24:
Iss.
2, Article 1.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1633
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol24/iss2/1