•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ศึกษาความเป็นไปได้ในการย้ายฝากตัวอ่อนระหว่างกระบือมูร่าห์และกระบือปลักไทย โดยทำการเก็บตัวอ่อนจากการตกไข่ตามธรรมชาติหรือหลังการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนแพรกแนนแมร์ ซีรั่มโกนาโดโทรปิน (พี.เอ็ม.เอส.จี) ในขนาด 2400-2800 ไอยู จากกระบือมูร่าห์จำนวน 5 ตัว เก็บตัวอ่อนจากการตกไข่ธรรมชาติได้ตัวอ่อน 80% (4/5) โดยมีตัวอ่อนปกติเท่ากับ 75% (3/4) และจากการกระตุ้นการตกไข่เพิ่ม พบว่าการตอบสนองเฉลี่ยโดยดูจากจำนวนคอร์ปัส ลูเทียม และฟอลลิเกิล ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 5 มม. เท่ากับ 11.0 ± 3.8 จำนวนตกไข่ เฉลี่ยต่อตัวเท่ากับ 4.4 ± 4.3 อัตราการเก็บตัวอ่อนเท่ากับ 45.5% (10/22) นำตัวอ่อนปกติที่ได้ ทั้งหมด 8 ตัวไปย้ายฝากในกระบือปลักตัวรับที่มีวงจรการเป็นสัดใกล้เคียงหรือแตกต่างกันไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผลการตรวจการตั้งท้องที่ประมาณ 2-3 เดือนหลังย้ายฝาก ไม่พบว่ากระบือปลักตัวรับ มีการตั้งท้อง อย่างไรก็ตามพบว่ากระบือปลักตัวรับ 4 ใน 7 ตัว มีแนวโน้มของการพัฒนาของตัว อ่อนในระยะแรก โดยดูจากระดับโปรเจสเตอโรนที่ตรวจวัดได้ในระดับสูงที่ 21 วันของรอบการเป็นสัด แต่ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญจนสิ้นสุดการตั้งท้องได้

DOI

10.56808/2985-1130.1623

First Page

275

Last Page

296

Share

COinS