•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ศึกษาความเป็นพิษของเมททิลพาราไธออนที่ขนาดความเข้มข้น 1-90 ไมโครกรัม ต่อลิตร (ppb) ในกุ้งกุลาดำขนาด 10.9 ± 0.5 เซนติเมตร 7 กลุ่ม โดยวิธีแบบแช่ พบว่าค่า LC50 ภายใน 96 ชั่วโมง เท่ากับ 54 ppb อาการแสดงของความเป็นพิษและอัตราการตายขึ้นอยู่ กับความเข้มข้นของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ให้ สมรรถนะของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในเลือดกุ้งที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่สอดคล้องกับความเป็นพิษที่ได้รับ ในขณะที่สมรรถนะของเอนไซม์ โฆลีนเอสเทอเรสในเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เปอร์เซ็นต์ ของสมรรถนะของเอนไซม์ที่ลดลงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของเมททิลพาราไธออนที่ได้รับ ผลทางจุลพยาธิวิทยาแสดงว่ามีการตายของเซลล์ตับและตับอ่อนและเซลล์กล้ามเนื้อ ความรุนแรงขึ้นกับความเข้มข้นของเมททิลพาราไธออนที่ได้รับ (1-50 ppb) และระยะเวลาที่สัมผัส ส่วนกลุ่มทดลอง 75-90 ppb ไม่พบริการดังกล่าว ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการวัดสมรรถนะของเอนไซม์โฆลีนเอสเทอเรสในกล้ามเนื้อและในเส้นประสาทของกุ้งกุลาดำสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออกาโนฟอสเฟตได้

DOI

10.56808/2985-1130.1601

First Page

189

Last Page

202

Share

COinS