The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
ปริมาณน้ำนมที่สูงสุด (PEAK) จะเกิดขึ้นประมาณ 40-70 วันหลังคลอด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำนมในหนึ่งช่วงของการให้นม (LTYIELD) อย่างมีนัยสำคัญทาง ยิ่งไปกว่านั้น PEAK ยังสามารถอธิบายความผันแปรของ LTYIELD ได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ความสัมพันธ์ดังกล่าวสำหรับแม่โคสาวท้องแรกสามารถแสดงอยู่ในรูปของ สมการคือ LTYIELD = 230 * PEAK (N = 37, P = 0.00, R2 = 0.97) ส่วนความสัมพันธ์สำหรับแม่โคท้องอื่น ๆ อยู่ในรูปของสมการ LTYIELD = 213 * PEAK (N = 63, P = 0.00, R2 = 0.98) การทราบถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เลี้ยงหรือสัตวแพทย์ สามารถตัดสินใจในการคัดโคสาวออกจากฝูงได้แต่เนิน ๆ โดยไม่ต้องรอให้โคสาวนั้นให้นมจนสิ้นสุด ช่วงการให้นมก่อน ช่วยในการจัดทำ Standard lactation shape เพื่อการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการให้อาหารแม่โค หรือปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เป็นแบบ subclinical นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานทางวิชาการที่ใช้อ้างอิงถึงความสูญเสียที่จะได้รับ อันเป็นผลเนื่องมา เลี้ยงดูแม่โคในช่วงหลังคลอดไม่ดีพอ ทำให้แม่โคไม่สามารถให้นมได้ถึงจุดสูงสุด
DOI
10.56808/2985-1130.1570
First Page
61
Last Page
67
Recommended Citation
อุดมประเสริฐ, ปรียพันธุ์; จันทร์ประทีป, พีระศักดิ์; and วังตาล, อุดม
(1991)
"การใช้ปริมาณน้ำนมที่จุดสูงสุดหลังคลอดทำนายปริมาณน้ำนมทั้งหมดที่จะได้ในหนึ่งช่วงของการให้นม,"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 21:
Iss.
2, Article 3.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1570
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol21/iss2/3