•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ฟาร์มไก่ไข่แห่งหนึ่งที่เลี้ยงโดยใช้ระบบกรงตับที่มีความสูง 2 ระดับ ประสพปัญหาการเกิดโรคพยาธิไส้เดือน หลังจากที่ไก่ขึ้นบนกรงที่ตับแล้วนานกว่า 15 เดือน ทั้งในแถวบนและแถวล่าง ทำการรักษาโดยใช้ปิบเปอราชินไดฮัยโดรคลอไรด์ผสมในอาหารใน ขนาด 125 มก. ปิบเปอราในเบสต่อน้ำหนักตัว 1 กก. หลังจากให้ยาแล้วพยาธิถูกขับออก จากกรงแถวบนและล่าง 91.94% และ 76.92% โดยมีพยาธิเฉลี่ย 1.90 และ 3.40 ตัว ต่อไก่ 1 ตัว ตามลำดับ จากนั้นได้ทำการตรวจอุจจาระจากไก่ในกรุงทั้ง 2 แถว พบไข่พยาธิหลังจากให้ยา 32 วัน ซึ่งไข่พยาธิที่ตรวจพบนี้คงจะเจริญมาจากพยาธิที่ยังไม่ได้เป็นตัว เต็มวัย และไม่ได้ถูกขับออกโดยยาถ่ายพยาธิ หรือพยาธิตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่ในผนังลำไส้ เคลื่อนตัวออกมาจากผนังลำไส้ แล้วเจริญเป็นพยาธิตัวแก่ในภายหลัง มากกว่าที่จะเป็นการ ติดโรคหลังจากให้ยาถ่ายพยาธิแล้ว หลังจากนั้นจำนวนกรงที่พบไข่พยาธิจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในระยะหลังนี้อาจจะมีการติดโรคใหม่เกิดขึ้นได้ จึงทำการถ่ายพยาธิด้วยยาชนิดเดิม ในขนาดที่ให้เช่นเดียวกับครั้งแร แรกอีกครั้ง โดยให้ยาห่างจากครั้งแรก 70 วันพบว่ามี พยาธิถูกขับออกมาจากกรงแถวบนและล่างเป็น 48.28% และ 58.33% มีพยาธิเฉลี่ย 0.79 และ 1.43 ตัวต่อไก่ 1 ตัวตามลำดับ จากผลดังกล่าวแสดงว่า ปิบเปอราชินไดฮัยโดรคลอไรด์ในขนาด 125 มก.ต่อน้ำหนัก 1 กก. สามารถขับพยาธิตัวแก่ได้ดี แต่จะไม่สามารถขับพยาธิตัวอ่อนออกได้หมด และยาชนิดนี้ในขนาดดังกล่าวไม่ทำให้ไก่แสดงอาการ แพ้ให้เห็นแต่ประการใด

DOI

10.56808/2985-1130.1558

First Page

515

Last Page

524

Share

COinS