•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

การทดลองทำในสุนัขเพศผู้ จำนวน 12 ตัว น้ำหนักระหว่าง 10-17 กก.แบ่งการทดลองเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม สัตว์ทดลองจะได้รับการ ฉีดพิษงูแมวเซาในขนาด 0.1 มก/กก. กลุ่มที่ 2 สัตว์ทดลองจะถูกเหนี่ยวนำให้อยู่ในภาวะ แคลเซียมในเลือดต่ำ โดยตัดต่อมพาราธัยรอยด์ก่อนฉีดพิษงูแมวเซา กลุ่มที่ 3 สัตว์ทดลอง ได้รับการฉีดสาร verapamil ในขนาด 0.2 มก/กก. 30 นาทีก่อนให้พิษงูแมวเซา ทดลองพบว่าในกลุ่มสุนัขที่ตัดต่อมพาราธัยรอยด์ออก อัตราการกรองผ่านกลอเมอรูลัส (GFR) และอัตราการไหลของเลือดสู่ไต (RBF) ลดลงร่วมไปกับการเพิ่มขึ้นของความต้านทานของหลอดเลือดที่ไต (RVR) ซึ่งอัตราการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนในสุนัข ที่ได้รับการฉีด verapamil เมื่อได้รับพิษงูจะทำให้ค่า GFR และ RBF ลดลงมากกว่ากลุ่มอื่น ในสัตว์ทดลองที่มีต่อมพาราธัยรอยด์อยู่ (กลุ่มที่ I และ III) จะพบมีการเพิ่มขึ้นของระดับ อนินทรีย์ฟอสฟอรัสในพลาสม่าภายหลังจากได้รับพิษงู สัดส่วนการขับทิ้งสารอนินทรีย์ฟอสฟอรัส(FFpi) เพิ่มขึ้น ขณะที่สัดส่วนการขับทิ้งแคลเซียม (FEca ) จะลดลง ในกลุ่มนี้อัตราส่วนระหว่างการขับทิ้งกรด titratable(TA) และแอมโมเนียต่อ GFR จะเพิ่มขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับ FEpi ลักษณะการทำงานของไตดังกล่าวจะไม่พบในสุนัขกลุ่มที่ตัดต่อมพาราธัยรอยด์ ซึ่งสุนัขในกลุ่มนี้มีระดับคลอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงของภาวะไตวายจากผลของความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือดในไตเมื่อสัตว์ได้

DOI

10.56808/2985-1130.1547

First Page

374

Last Page

391

Share

COinS