The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
การนำโคซึ่งไม่ได้รับทดสอบวัณโรคให้แน่นอน เข้าในฟาร์มเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้เกิดการ ระบาดของวัณโรค จากการศึกษาทดสอบวัณโรคโดยฉีด ทูเบอร์คิวลิน (Tuberculin) เข้าผิวหนังที่หัวไหล่ ( prescapular Region) 5 ครั้ง ในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน ปรากฏว่าโคบางตัวในครั้งแรก ๆ ของการทดสอบ สงสัยจะเป็นวัณโรค แต่เมื่อตรวจซ้ำปรากฏว่าปฏิกริยาที่มีต่อทูเบอร์คิวลินกลับหายไป ซึ่งทำให้เข้าใจว่า สัตว์อาจจะไม่เป็นโรคนี้ บางตัวการตรวจระยะแรกไม่บ่งชี้ว่าจะเป็นวัณโรคแต่กลับแสดงปฏิกริยาต่อ ทูเบอร์คิวลิน ในระยะหลัง ๆ ซึ่งแสดงว่าสัตว์เป็นวัณโรค เมื่อศึกษาถึงการเปรียบเทียบของการตรวจ วัณโรคด้วยวิธีฉีดทูเบอร์คิวลินเข้าผิวหนังที่หัวไหล่ (prescapular) และที่ใต้โคนหาง (caudal fold) ได้ผลตรงกันในบางราย และขัดแย้งกันในหลายราย ส่วนสัตว์ที่แสดงปฏิกริยาต่อทูเบอร์คิวลินอย่างเด่นชัด ที่ทั้งสองตำแหน่ง เมื่อผ่าซากจะเห็นว่าสัตว์เป็นวัณโรคจริง ๆ โดยพบพยาธิสภาพของวัณโรคตามต่อมน้ำเหลือง
DOI
10.56808/2985-1130.1189
First Page
95
Last Page
102
Recommended Citation
สยธนู, เกรียงศักดิ์ and มาศเกษม, ชัยสิทธิ์
(1972)
"การศึกษาวัณโรคของโคนมในฟาร์มหนึ่งฟาร์ม (A Study of Bovine Tuberculosis in a Diairy Cattle Farm),"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 2:
Iss.
3, Article 8.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1189
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol2/iss3/8