The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
ทดลองย้ายฝากตัวอ่อนสุกรข้ามฟาร์มโดยวิธีการอย่างง่าย ๆ ระหว่างอําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 70 กม. โดยนำตัวอ่อนระยะ Late Morula และ Early Blastocyst จำนวน 43 ตัวอ่อน เก็บในกระติกน้ำอุ่นระหว่างการขนย้ายเป็นระยะเวลา 6 ชม. เพื่อฝากในสุกรตัวรับซึ่งมีการตกไข่หลังจากสุกรตัวให้ประมาณ 24 ชม. จำนวนทั้งหมด 4 ตัว ผลการทดลองพบว่า สุกร 2 ใน 4 ตัว (50%) แสดงอาการตั้งท้องและคลอดลูกที่มีลักษณะปกติจำนวนทั้งหมด 4 ตัว คิดเป็นอัตรารอดทั้งสิ้นเท่ากับ 9.3% (4/43) หรือ 20% (4/20) ของสุกรตั้งท้อง ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ตัวอ่อนสุกรสามารถเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้ภายหลัง จากการเก็บรักษา และขนย้ายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การปรับปรุงในวิธี การเก็บรักษาขณะขนย้ายตัวอ่อนน่าจะสามารถเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอดของตัวอ่อนได้
DOI
10.56808/2985-1130.1498
First Page
173
Last Page
180
Recommended Citation
เตชะกำภุ, มงคล; รุจทิฆัมพร, บุญญิตา; รักอริยะธรรม, นิภาภรณ์; หมายเจริญ, เจนวิชญ์; ฮ้อเจริญ, อังสนา; พันธุ์ชัย, เกรียงมาศ; and อินทรอุทก, ปราณี
(1988)
"การย้ายฝากตัวอ่อนสุกรระหว่างฟาร์ม,"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 18:
Iss.
2, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1498
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol18/iss2/7