•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตหลังหย่านมถึงพร้อมผสมพันธุ์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ในกระต่ายจำนวน 115 ตัว จำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่มพันธุ์คือ กระต่ายพันธุ์พื้นเมือง กระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ ซึ่งมีที่มาของพันธุ์จากประเทศนิวซีแลนด์และกระต่ายลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างกระต่ายพื้นเมืองกับกระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ แบบสลับพ่อแม่ทั้ง 2 แบบ กระต่ายทั้งหมดได้รับการเลี้ยงดูอย่างเดียวกันในกรงขังเดี่ยว ณ ศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ นครปฐม ให้อาหารขั้นที่มีโปรตีน 14% โดยให้กินเต็มที่พร้อมหญ้าขนสด บันทึกน้ำหนัก และปริมาณอาหารที่กินทุก 2 สัปดาห์ คำนวณน้ำหนักเพิ่ม ปริมาณอาหารที่ให้ทั้งหมด อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ปริมาณอาหารที่กินเฉลี่ยต่อวัน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ วิเคราะห์ว่าเหรียนซ์แบบลีสท์สแควร์ ผลการทดลองปรากฏว่า กลุ่มพันธุ์มีผล ต่อน้ำหนักหย่านม และน้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 10 และ 12 ของการทดลอง รวมทั้งต่อน้ำหนักเพิ่ม (P < .05) อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร {P < 01] ส่วนเพศมีผลต่อน้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 12 ของการทดลอง (P < .01) ปริมาณ อาหารที่ใช้ทั้งหมดและเฉลี่ยต่อวัน น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (P < .05) และพบปฏิกิริยาร่วมระหว่างกลุ่มพันธุ์ และเพศในลักษณะ น้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 10 และ 12 ของการทดลอง น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (P < .05) ค่าเฉลี่ยสีสท์สแควร์ของแต่ละลักษณะจำแนกตามแหล่งความแปรปรวนที่มีนัยสำคัญในการเปรียบเทียบ Contrast ระหว่างกระต่ายพันธุ์แท้ทั้งสองพบว่ากระต่ายนิวซีแลนด์ไวท์มีขนาดเล็กกว่ากระต่ายพื้นเมืองเมื่อหย่านม และไม่มีความแตกต่างในระยะต่อมายกเว้นน้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 10 ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของกระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ดีกว่ากระต่ายพันธุ์พื้นเมือง กระต่ายลูกผสมทั้ง 2 แบบไม่แตกต่างกันในทุกลักษณะของการเจริญเติบโต เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มกระต่ายพันธุ์แท้ทั้งสองกับกระต่ายลูกผสมทั้ง 2 แบบ ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันในทางน้ำหนักตัวทุกช่วงอายุแต่กระต่ายลูกผสมเจริญเติบโตเร็วกว่ากระต่ายพันธุ์แท้ และมีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดีกว่า (P < .05) ค่า heterosis ของการผสมข้ามระหว่างกระต่าย 2 พันธุ์นี้ค่อนข้างต่ำซึ่งเป็นปกติของลักษณะด้านการเจริญเติบโตซึ่งมีค่าอัตราพันธุกรรมปานกลางถึงสูง

DOI

10.56808/2985-1130.1493

First Page

121

Last Page

140

Share

COinS