The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
แบคทีรินเตรียมจากเชื้อ พาสเตอเรลล่า มัลโตชิดา ซีโรทัยป์ 8:A ด้วยวิธีฆ่าเชื้อที่ต่างกัน 3 วิธี คือ ฟอร์มาลิน, Sonicated และ irradiated นำมาศึกษาภูมิคุ้มกันโรคในเป็ดเปรียบเทียบกับวัคซีนของกรมปศุสัตว์และวัคซีนของเอกชน 2 ชนิด แอนติบอดีไตเตอร์ของวัคซีนส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 หลังจากฉีดวัคซีน กลุ่มที่ฉีดวัคซีน โดยไม่มีแอดจูแวนท์พบว่าวัคซีนชนิด irradiated ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับวัคซีนของกรมปศุสัตว์ คือ 63.9 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฉีดวัคซีนชนิดต่าง ๆ โดยมีแอดจูแวนท์ พบว่ามีค่าแอนติบอดีไตเตอร์เฉลี่ยสูงกว่า โดยวัคซีนของกรมปศุสัตว์ที่มีแอดจูแวนท์ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่วัคซีนชนิด irradiated มีค่าเฉลี่ย 138.2 ส่วนวัคซีนของบริษัทเอกชน ชนิด ซึ่งเป็นชนิด emulsified พบว่าให้ค่าแอนติบอดีไตเตอร์ เฉลี่ยสูงสุดต่ำกว่า (98.7 และ 47.5) นอกจากนั้น เมื่อเพิ่มขนาดของวัคซีนของกรมปศุสัตว์หรือวัคซีนเตรียมเอง (ฟอร์มาลิน) จาก 1.0 มล. เป็น 2.0 มล. โดยไม่ใช้แอดจูแวนท์ พบว่าค่าแอนติบอดีไตเตอร์ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 63.9 และ 40.3 เป็น 127.9 และ 54.8 ตามลำดับ
Publisher
Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University
First Page
315
Last Page
324
Recommended Citation
ลออปักษา, อารีรัตน์; วงศ์สว่าง, โสมทัต; ถุงสุวรรรณ, สันติ; พูนสุข, เกรียงศักดิ์; สายธนู, เกรียงศักดิ์; and ชัยศิริ, นิคม
(1987)
"วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 6. ภูมิคุ้มกันในเป็ดหลังจากฉีดแบคทีริน เตรียมด้วยวิธีต่าง ๆ กัน จากเชื้อ พาสเตอเรลล่า มัลโตซิด้า,"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 17:
Iss.
4, Article 1.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol17/iss4/1