The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
การหาสมรรถนะของทุ่งหญ้ามอสผสมถั่วเป็นโตรซีม่า โดยใช้พื้นที่ 15, 20 และ 25 ไร่ ใช้ระบบการหมุนเวียนแปลงหญ้าภายใต้สภาวะธรรมชาติ ระยะเวลาของการ ทดลอง 18 เดือน โดยใช้พื้นที่แปลงหญ้า เป็นอัตราส่วนของพื้นที่ต่อจำนวนโคเท่ากับ 3, 4 และ 5 ไร่/ตัว ตามลำดับ ปรากฏว่าโคทดลองทุกตัวมีน้ําหนักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยตลอดการทดลอง เท่ากับ 0.43, 0.51 และ 0.53 กก./ตัว/วัน ในการใช้พื้นที่ 3, 4 และ 5 ไร่ ตัว ตาม ลำดับ หรือน้ำหนักที่เพิ่มต่อไร่ต่อปีเท่ากับ 47.6, 43.95 และ 38.04 กก. ผลผลิตของหญ้ามอสผสมถั่วเซนโตรซีม่าหลังการทดลองจะมีปริมาณลดลงจากผลผลิตของหญ้าและถั่วก่อน การทดลองมาก ส่วนการวิเคราะห์ทางเคมีนั้นเกือบไม่แตกต่างกัน สภาพการฟื้นตัวของหญ้าและถั่ว สำหรับการใช้พื้นที่ 3ไร่/ตัว การฟื้นตัวของหญ้าไม่ทันกับการแทะเล็มของสัตว์ สภาพแปลงหญ้าโทรมมาก หญ้าและถั่วตายเกือบไม่มีหญ้าเหลือและมีวัชพืชขึ้นหนาแน่น การใช้พื้นที่ 4 ไร่/ตัว การฟื้นตัวของหญ้าและถั่วในระบบการหมุนเวียนภายใต้สภาวะธรรมชาตินี้พอมีหญ้าและถั่วพื้นตัวได้ทันกับการแทะเล็มของสัตว์ได้ตลอดการทดลอง แปลงหญ้าไม่โทรมมาก และยังสามารถจะใช้ เป็นทุ่งหญ้าต่อไปได้ และสำหรับพื้นที่ 5 ไร่/ตัว นั้น นับว่าเป็นการสูญเสียพื้นที่ไปโดยได้ ประโยชน์เนื่องจากใช้พื้นที่มากเกินไป โคกินหญ้าในแปลงไม่ทัน ทําให้มีส่วนลําต้นของหญ้าเหลือ ยาว ๆ เป็นจำนวนมาก และหญ้าจะเจริญคลุมถั่ว ทําให้ถั่วตาย ส่วนการทดลองทดสอบคุณภาพของหญ้าโดยใช้แกะเป็นสัตว์ทดลองนั้น พบว่ามีค่า อินทรีย์วัตถุย่อยได้เท่ากับ 47.32, 14.90 และ 42.19% และค่าโปรตีนย่อยได้เท่ากับ 3.91, 3.03 และ 3.55% สำหรับการใช้พื้นที่ 3, 4 และ 5 ไร่/ตัว ตามลำดับ
DOI
10.56808/2985-1130.1442
First Page
196
Last Page
209
Recommended Citation
สนิทวงศ์ฯ, จินดา; จินกล่ำ, พัชรินทร์; เกียรติสุนทร, อรรถยา; มณีดุลย์, ชาญชัย; โพธิ์จันทร์, ประเสริฐ; ศรประสิทธิ์, เพ็ญศรี; and ผดุงศักดิ์, พรเพ็ญ
(1986)
"สมรรถนะของทุ่งหญ้าผสมพืชตระกูลถั่วทุ่งหญ้ามอริชัสและเซนโตรซีม่า,"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 16:
Iss.
4, Article 1.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1442
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol16/iss4/1