•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2525 ได้มีผู้นำแกะและแพะจำนวนกว่า 100 ตัว จากประเทศ พม่าเข้ามาในไทย โดยผ่านทาง อ.แม่สอด จ.ตาก ส่วนหนึ่งได้นำมาฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร และอีกส่วนหนึ่งได้ปล่อยเลี้ยงรวมฝูงกับแกะและแพะพื้นเมืองที่เลี้ยงอยู่ที่ อ.ปากช่อง ราชสีมา ในสัตว์ที่ฆ่านั้นได้ตรวจพบตัวอ่อนของแมลง Destrus ovis ในช่องจมูกแกะ และ frontal sinus ต่อมาแกะและแพะที่เลี้ยงอยู่ในฝูงที่ อ.ปากช่องทั้งที่เลี้ยงอยู่ที่เดิมและนำมา จากประเทศพม่าได้แสดงอาการของโรคนี้ ซึ่งสันนิษฐานว่าตัวอ่อนของแมลงที่ติดเข้ามากับสัตว์ฝูงนี้จะเจริญเป็นตัวแก่ได้และทําให้เกิดการติดโรคในสัตว์พื้นเมือง จึงได้ทําการทดลองในห้อง ปฏิบัติการของหน่วยปรสิตฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2526 ถึงเดือน มีนาคม 2527 รวม 5 ครั้ง โดยใช้ตัวอ่อนระยะที่ 3 ที่เจริญเต็มที่จำนวน 27 ตัวปล่อยลงดินปนทราย หรือทราย ตัวอ่อน เหล่านั้นใช้เวลาเจริญนอกตัวโฮสต์ (host) 15 - 21 วัน (ค่าเฉลี่ย 17.36 วัน) และให้แมลงตัวแก่ 22 ตัว (ตัวเมีย 15 ตัว ตัวผู้ 7 ตัว) ตัวแก่เหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน 5 - 13 วัน (ค่าเฉลี่ย 8.07 วัน) ผลที่ได้แสดงว่าแมลงชนิดนี้สามารถเจริญและมีชีวิตอยู่ได้ดีในประเทศไทย

DOI

10.56808/2985-1130.1380

First Page

89

Last Page

95

Share

COinS