•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

การปลิ้นทะลักของมดลูกและช่องคลอดในแม่โคนมลูกผสมที่ จ.ราชบุรี จำนวน 72 ราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ถึง 2524 พบว่ามีการปลิ้นทะลักของมดลูก 54.16% และ การปลิ้นทะลักของช่องคลอด 45.84% ในจำนวนนี้เป็นลูกผสมจากน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ Australian Illiwara Shorthorn 16.67%, Brown Swiss 19.05 % และ Holstien Fresian 64.28% การเกิดการปลิ้นทะลัก พบในแม่โคลูกผสม 50% (F1) 40.47% และแม่โคลูกผสม 75% (F.) 59.53% การปลิ้นทะลักของมดลูกและช่องคลอด เกิดในระยะที่ให้นมครั้งแรก 25% ให้นมครั้งที่ 2, 26.38%, ให้นมครั้งที่ 3-5, 13.05% และให้นมครั้งที่ 5 ขึ้นไป 5.55% ช่วงเวลาของการเกิดทะลักพบว่า 33.33% เกิดขึ้นก่อนคลอด, 11.11% เกิด ระหว่างการคลอด, 51.38% เกิดหลังคลอดและ 4.16% เกิดในวัวที่ไม่ท้อง การแก้ไขได้ทํา 2 วิธี คือ ดันกลับแล้วเย็บอวัยวะเพศส่วนนอก อีกวิธีคือดัน กลับแล้วฉีด เอมิลแอลกอฮอล 60 มล เข้าไขสันหลังโดยไม่เย็บอวัยวะเพศ พบว่าทั้ง 2 วิธี ได้ผลเหมือนกันคือไม่พบมีการทะลักออกมาอีกหลังรักษา

DOI

10.56808/2985-1130.1317

First Page

151

Last Page

162

Share

COinS