•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

ศึกษาการแก้ไขปัญหาการไม่เป็นสัดในแม่สุกรหลังหย่านม ซึ่งพบมีตั้งแต่ 16-53% ต่อเดือน ในฟาร์มโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ตั้งแต่เดือน พฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2523 แม่สุกรที่ไม่แสดงอาการเป็นสัดหลังหย่านมระยะต่าง ๆ กัน จำนวน 61 ราย ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ แรก จำนวน 25 ตัวได้รับการฉีดสาร โปรสตาแกลนดินเอฟทอัลฟ่า จำนวน 125 - 200 ไมโครกรัม ในวันที่ 26.56 ± 10.80 วัน (ระยะ 6-48 วัน) หลังหย่านมแม่สุกรทุกตัวแสดงอาการเป็นสัดภายใน 7.04 ± 6.00 วัน ได้รับการผสมและติด 68% กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 ตัว ได้รับ gonado- trophic hormone (FSH ขนาด 400 IU และ LH 400 IU) ในวันที่ 37.64 ± 22.03 วัน (ระยะ 13-78 วัน) แสดงอาการเป็นสัดทุกตัวใน 6.64 ± 5.77 วันหลัง ฉีดและผสมติด 72.70% ส่วนในกลุ่มที่ 3 ใช้ฉีด E.C.P. ขนาด 2 มก. แก่แม่สุกร 15 ตัว ซึ่งไม่เป็นสัดเป็นเวลา 24.57 ± 18.15 วัน (ระยะ 10-70 วัน) หลังฉีดเกิด การเป็นสัดภายใน 4.29 ± 4.63 วัน ผสมติด 46.66% ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้ เห็นว่าสารทั้ง 3 ชนิดนำมาใช้แก้ปัญหาการไม่เป็นสัดหลังหย่านมในแม่สุกรได้

DOI

10.56808/2985-1130.1279

First Page

1

Last Page

12

Share

COinS