The Thai Journal of Veterinary Medicine
Abstract
ประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิฮาล๊อกซิลขนาด 3/4 fl.oz ต่อน้ำหนัก กระบือ 50 กิโลกรัมโดยใช้ขนาดสูงสุด 51/4% fl.oz ต่อน้ำหนักกระบือ 350 กิโลกรัมขึ้นไป ต่อพยาธิใบไม้ในตับ Fasciola spp. และ พยาธิใบไม้ในกระเพาะ Paramphi- stomum spp. ในกระบือ ได้ทําการทดลองแบบ Field Test ในกระบือปลักท้อง 5- 8 เดือนอายุ มากกว่า 6 ปีจำนวน 8 ตัว และกระบือปลักเพศผู้อายุ มากกว่า 3 ปีจำนวน 4 ตัว ยาถ่ายพยาธิฮาลอกซิลมีประสิทธิภาพสูง (100%) ในการลดจำนวน ไข่พยาธิใบไม้ในตับใน 3 วัน หลังถ่ายพยาธิจนกระทั่ง สัปดาห์ที่ 10 และลดจำนวนไข่พยาธิใบไม้ในกระเพาะใน 3วัน หลังถ่ายพยาธิจนกระทั่งสัปดาห์ที่ 8 น้ำหนักเฉลี่ยของกระบือปลักที่ได้รับยาถ่ายพยาธิจะมากกว่ากลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบ โดยกระบือท้องที่ได้รับยาถ่ายพยาธิมีน้ําหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 27.12 ± 4.36 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 6.33 ± 0.75% คิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตต่อวันเฉลี่ยตัวละ 0.45 ± 0.07 กิโลกรัม ส่วนพวกที่ใช้เปรียบเทียบมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยตัวละ 13.75 ± 8.19 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 2.96 ± 1.72% คิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตต่อวันเฉลี่ยตัวละ 0.23 ± 0.13 กิโลกรัม สำหรับกระบือเพศผู้ที่ได้รับยาถ่ายพยาธิมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยตัวละ 34.5 ± 5.80 กิโลกรัมเพิ่มเป็น 9.05 ± 1.99% คิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน เฉลี่ยตัวละ 0.49 ± 0.05 กิโลกรัม ส่วนกลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยตัวละ 19.0 ± 1 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 5.23 ± 1.29% คิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตต่อวันเฉลี่ยตัวละ 0.32 ± 0.01 กิโลกรัม ยาถ่ายพยาธิฮาล๊อกซิลสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในกระบือปลักและแม้กระทั่งในกระบือท้อง
DOI
10.56808/2985-1130.1171
First Page
180
Last Page
189
Recommended Citation
พวงชมภู, สมลักษณ์
(1980)
"ประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิฮาล๊อกซิลต่อพยาธิใบไม้ในตับและพยาธิใบไม้ในกระเพาะกระบือปลัก (Anthelmintic Efficacy of Haloxil against Fasciola Spp. And Paramphistomum spp. In Swamp Buffaloes ),"
The Thai Journal of Veterinary Medicine: Vol. 10:
Iss.
3, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.56808/2985-1130.1171
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/tjvm/vol10/iss3/6